รองผู้ว่าฯ ทวิดา แนะ Keep Learning แล้วทำให้เป็นประโยชน์ เปลี่ยนแปลงและทำให้ดีขึ้น - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565

รองผู้ว่าฯ ทวิดา แนะ Keep Learning แล้วทำให้เป็นประโยชน์ เปลี่ยนแปลงและทำให้ดีขึ้น

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 65 ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล (ด้านการแพทย์) รุ่นที่ 16 ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 สำนักการแพทย์ โดยมี คณะผู้บริหารสำนักการแพทย์ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี

รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวว่า จากนิทรรศการ “Smart People Smart Health Literacy” การนำเสนอรายงานรุ่น เรื่อง “การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เห็นว่าผลงานที่เสร็จแล้วคงไม่อยากให้อยู่นิ่งๆ อยากให้มองว่าความพยายามที่ผ่านมาเห็นผล หลักสูตรน่าจะพยายามพัฒนาให้ทุกคนเป็นบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็น Hybrid ในตัวของตัวเอง ที่สามารถมองงานพัฒนาที่เป็นยุทธศาสตร์ สามารถสร้างงานต่อยอดนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประชาชนได้มากขึ้น ถ้าจะให้เติมมีอย่างเดียวในมุมมองของฐานะผู้รับบริการ คือความตั้งใจที่อยากจะทำให้ประชาชน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพูดเสมอว่า ต้องไม่ทำให้ความ Smart มัน Out Smart ประชาชน ความกลัวจากความเจริญก้าวหน้า ความกลัวจากความ Smart จึงทำให้ประชาชนไม่กล้า และ Target ของทุกคนเฉพาะวันนี้คือผู้สูงอายุ ถ้าเป็นผู้สูงอายุความไม่กล้าต่อเทคโนโลยีมันเยอะ แนวความคิดสุดท้ายที่จะสร้างคลินิกอันนี้สนับสนุนเพราะรู้สึกว่า Human Touch และบางทีมันก็คือ Something Else มันคืออะไรบางอย่างที่มากเหนือกว่าการมา Reach หน้าประตูบ้าน บางครั้งถ้าคลินิกนี้ไม่ได้สนับสนุนเฉพาะบุคลากรกันเอง สามารถเดินไถ่ถามกันได้ก็เกิด Share Knowledge สังคมไทยไม่เน้นเรื่อง Design เพราะรู้สึกว่าเสียเวลา ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำชับว่าการตัดสินใจในฐานะผู้บริหารหรือฐานะอะไรก็ตามให้ฟังให้เยอะแล้วนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ ดังนั้นอะไรคือความพอดีของกายภาพและการบริหารจัดการ ให้กายภาพเท่าที่มีอยู่สามารถใช้ได้ อยากให้หาให้เจอ เพราะคนที่ทำงานทุกวันจะหาเจอ โดยเฉพาะคนชอบคิดว่าหมอสำคัญกว่าพยาบาล อันนี้ไม่จริง คนเจอพยาบาลนานกว่าหมอ การพยายามทำคลินิกคือการพยายามเน้นเรื่อง Literacy ในทักษะของการสื่อสาร ดังนั้นต่อให้ไม่พูดอะไรเลยแต่สีหน้าท่าทางก็สื่อสารตั้งแต่ต้น บุคลากรทางด้านการพยาบาลเป็นคนที่อยู่ใกล้กับประชาชนที่สุด หลักสูตรนี้มีประโยชน์กับทุกคนจากที่เห็นผลงาน Keep Learning แล้วก็ทำให้สิ่งที่เรียนรู้เป็นประโยชน์ในเชิงรูปธรรมให้ได้ ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นให้ได้ คิดว่าทุกคนคงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง เราสามารถเปลี่ยนมันได้และทำให้ดีขึ้นได้

ทั้งนี้ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล (ด้านการแพทย์) รุ่นที่ 16 (บพ.16) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ทางการพยาบาลด้านการบริหาร ให้มีภาวะผู้นำ ทักษะการคิด วิเคราะห์ ความรู้ ความสามารถ และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างเจตคติ วิสัยทัศน์ มุมมองเชิงยุทธศาสตร์ สามารถบริหารจัดการโดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการพยาบาลที่ทันสมัยมาประยุกต์ในการพัฒนาระบบการให้บริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้อง เชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการ นโยบายของส่วนราชการ และแผนของกรุงเทพมหานคร โดยฝึกอบรมระหว่างวันที่ 17 พ.ค. - 11 ส.ค. 65 รวมจำนวน 57 วัน ผู้เข้ารับการฝึกอบรม รวมทั้งสิ้น 36 คน เป็นข้าราชการสายงานด้านการพยาบาล ระดับชำนาญการ - ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักการแพทย์ 32 คน บุคลากรสายงานด้านการพยาบาล สังกัดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล 2 คน และคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ 2 คน หลักสูตรการอบรม ประกอบด้วย ภาควิชาการ ภาคการสร้างเสริมภาวะผู้นำและการบริหารทางการพยาบาล ภาคเสริมสร้างประสบการณ์นักบริหาร ภาคการศึกษาดูงานและภาคการจัดทำรายงานการศึกษา

----------------------------- (พัทธนันท์...สปส. รายงาน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น