สวส.เปิดงาน Open House “Digital Marketing FAST forward for Social Enterprise” ประจำปี 2566 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สวส.เปิดงาน Open House “Digital Marketing FAST forward for Social Enterprise” ประจำปี 2566


เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 9.00 น. นางนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นประธานเปิดเปิดงาน Open House “Digital Marketing FAST forward for Social Enterprise” โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม ผู้เข้าร่วมโครงการ ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


นางนภา กล่าวว่า ปัจจุบัน Social Enterprise เป็นการดำเนินกิจการเพื่อสังคมที่ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ทางสังคม ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และรากฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศไทย วิสาหกิจเพื่อสังคมจึงต้องมีความเข้มแข็งและแข็งแรงในด้านต่างๆ อย่างลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการทำธุรกิจทางสังคมไม่ใช่แค่คืนกำไรสู่สังคมเท่านั้น หากแต่ยังต้องทำกำไรให้กับธุรกิจของตนเองด้วยจึงจะอยู่รอดอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจเพื่อสังคม ด้านธุรกิจ ด้านการบริหาร ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นภารกิจที่สำคัญของสำนักส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม



นางนภา กล่าวต่อว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบธุรกิจ โดยการให้คำปรึกษาแนะนำกิจการ และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจเพื่อสังคม 

พร้อมทั้งเฟ้นหาต้นแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีผลการพัฒนาที่โดดเด่นและมีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ดี ดังนั้นสำนักงานฯ จึงจัดกิจกรรม Open House: Digital marketing FAST forward for Social Enterprise ภายใต้โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคม ประจำปี 2566  ในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้านธุรกิจให้กับวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย ผ่านการให้คำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมให้เกิดความร่วมมือ (Collaboration) และส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานการสร้างรายงานผลลัพธ์ทางสังคมสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม



กิจกรรมในครั้งนี้นับว่าเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าของนวัตกรรมเพื่อสังคม และนวัตกรรมการตลาดที่ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล การสร้างแบรนด์ การสร้างตัวตน ในโลกออนไลน์ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะยกระดับวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีอยู่ในประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในมิติของการตลาดสากลได้อย่างไม่เป็นรองนานาชาติ อันจะก่อให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจเพื่อสังคม และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งนำมาสู่ความเข้มแข็งของวิสาหกิจเพื่อสังคมได้ในอนาคต. นางนภา กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น