เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 65 เวลา 10.10 น. ที่หอประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลหันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดงานมหกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกประเทศไทย ภาคกลางและภาคตะวันตก 2565 (World Habitat Day 2022 Thailand) “ใส่ใจช่องว่าง ไม่ทิ้งใครและที่ใดไว้ข้างหลัง (Mind the Gap. Leave No One and Place Behind)” ภายใต้แนวคิด “หุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนนโยบาย ลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย” โดยมี นายนที มนตริวัต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นางสาวชไมพร อำไพจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พันเอก สีหนาท เศวตเสวนี รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดชัยนาท ฝ่ายทหาร พลตำรวจตรี วรณัฏฐ์ ผันผ่อน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท นายมณเฑียร สงฆ์ประชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท นายยุทธพร พิรุณสาร ปลัดจังหวัดชัยนาท นายวิฑูรย์ สิรินุกุล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดชัยนาท นางสาวดรุณี มนัสวานิช พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยนาท นายอดิศร เกิดโต นายอำเภอหันคา และนายอำเภอในพื้นที่จังหวัดชัยนาท หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรชุมชน และภาคีเครือข่าย กว่า 1,000 คน ร่วมในงาน
โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมชมนิทรรศการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยอย่างมีส่วนร่วม รับฟังคำชี้แจงและรับมอบแนวปฏิบัติร่วมในการทำแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยจังหวัดจากผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน 5 ภาค พร้อมทั้งเป็นประธานมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่ช่างชุมชน จาก 8 อำเภอในจังหวัดชัยนาท ร่วมพบปะ มอบนโยบาย และ Kick Off การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยทั้งจังหวัด และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยทั้งจังหวัด ภายใต้แนวคิด “หุ้นส่วนการพัฒนา ขับเคลื่อนนโยบาย ลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย” จำนวน 59 ตำบล ของจังหวัดชัยนาท
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การเดินทางมาเยือนที่จังหวัดชัยนาทในวันนี้ เสมือนได้กลับมาที่บ้านอีกครั้งหนึ่ง เพราะตนในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท คนที่ 52 และปลัดกระทรวงมหาดไทย คนที่ 41 มีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะได้ร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วน ทำให้งานด้านบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ในด้านที่อยู่อาศัยให้กับพี่น้องประชาชนในจังหวัดชัยนาท และพี่น้องคนไทยทั่วประเทศมีความรุดหน้า เพิ่มพูนความมีประสิทธิภาพมากกว่าที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายที่ชัดเจนและถือเป็นนโยบายที่สำคัญที่สุด คือ “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งนอกจากท่านนายกรัฐมนตรีจะได้ให้คำมั่นสัญญาในความมุ่งมั่นตั้งใจของประเทศไทยในด้านการลดความเหลื่อมล้ำต่อนานาประเทศแล้ว ยังได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการที่จะขับเคลื่อนผลักดัน ให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี หนึ่งในนั้น คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งกระบวนการที่ผู้แทนองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่ายจากทั่วประเทศทุกท่านได้ร่วมกันทำในการจัดงานมหกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกประเทศไทย ภาคกลางและภาคตะวันตก 2565 (World Habitat Day 2022 Thailand)
ดังนั้นในวันดังกล่าว จึงเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องคนไทยที่ยากไร้และยังขาดโอกาสที่ดีในการใช้ชีวิต การที่พวกเราทุกคนได้ช่วยกันเติมเต็มช่องว่างในเรื่องที่อยู่อาศัยให้หมดไป ทำให้พี่น้องประชาชนที่ยังตกทุกข์ได้ยากได้รับการช่วยเหลือให้ขึ้นมาอยู่แถวหน้า ไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ดังคำขวัญของงานมหกรรมฯ ที่ว่า “ใส่ใจช่องว่างไม่ทิ้งใครและที่ใดไว้ข้างหลัง” ด้วยกระบวนการ/แนวคิดการทำงานแบบ “หุ้นส่วนการพัฒนา” ในการขับเคลื่อนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย ถือเป็นต้นแบบที่แสดงให้เห็นว่าพี่น้องประชาชนเป็นผู้ที่มีความคิด เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมสังคม เพื่อนร่วมประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาขับเคลื่อนนโยบายในทุก ๆ เรื่องที่ยังเป็นช่องว่าง ยังมีความเหลื่อมล้ำได้ ดังเช่น ที่อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทแห่งนี้ ท่านนายอำเภอหันคาได้เป็นต้นแบบในการเป็น “หุ้นส่วนการพัฒนา” ด้วยการบูรณาการ 7 ภาคีเครือข่าย อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ทำงานขับเคลื่อนพัฒนาเพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งที่สามารถจัดการตนเองได้ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนตามเป้าหมายฐานข้อมูล TPMAP ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแพลตฟอร์ม THAIQM ของกรมการปกครอง ที่มีความเดือดร้อนในด้านที่อยู่อาศัยใน THAIQM ประมาณกว่า 2,000 ครัวเรือน โดยได้รับความเมตตากรุณาอย่างสูงยิ่งจากภาคีผู้นำศาสนา นั่นคือ ท่านเจ้าคุณพระมงคลกิจโกศล (หลวงพ่อฤาษีตาไฟ) รองเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท เจ้าอาวาสวัดเทพหิรัณย์
“กระบวนการทำงานร่วมกันแบบเป็นหุ้นส่วนนั้น สามารถขยายบริบทการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา จากในด้านที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องของการที่พวกเราจะมีความมั่นคงด้านอาหาร นั่นหมายความว่า เมื่อพวกเราได้ช่วยกันทำให้พี่น้องประชาชนในแต่ละบ้านได้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแล้ว เรายังสามารถช่วยกันส่งเสริมการน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเรื่อง “การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร” ตามที่พระองค์ได้พระราชทาน ได้แก่ โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง โครงการทหารพันธุ์ดี โครงการทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ซึ่งภาคีเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งของ พอช. ทุกท่านที่อยู่ในที่นี้เป็นบัวพ้นน้ำ เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นผู้ที่มีทักษะความสามารถ ในการเชิญชวนอรรถาธิบายขยายความให้ผู้คน ให้เพื่อนสมาชิกในชุมชน ได้เกิดความเข้าใจ และคล้อยตาม ด้วยการช่วยกันเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาความเข้าใจให้กับสมาชิกในบ้านที่อยู่ในชุมชน ทั้งสมาชิก พอช. และครัวเรือนอื่น ๆ ในการร่วมกันทำให้พื้นที่ส่วนกลางในชุมชน และพื้นที่ส่วนตัวรอบ ๆ บ้าน ให้มีแปลงผักสวนครัว เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัย ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน และยังก่อให้เกิดกิจกรรมเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ให้เพิ่มพูนมากขึ้นในชุมชน/หมู่บ้านที่พวกเราทุกคนอยู่อาศัย นอกจากนี้ ขอให้ทุกคนได้ช่วยกันขยายผลในด้านความสะอาดสะอ้านของครัวเรือน หลังจากที่มีบ้านที่มั่นคง มีอาหารที่ปลอดภัยแล้ว ด้วยการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน เช่น ทำให้ทุกครัวเรือนมีถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่อที่จะนำขยะที่เป็นเศษอาหาร เศษใบไม้ ใบหญ้า เศษผลไม้ เศษผักที่เหลือจากการทำอาหาร นำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักในระบบปิด เพื่อไม่ให้ขยะนั้นปลดปล่อยก๊าซเสียลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศทำให้เกิดภาวะโลกร้อน รวมถึงการส่งเสริมในเรื่องการคัดแยกขยะที่สามารถไปรีไซเคิลได้ ด้วยการรวบรวมและจัดตลาดนัดขยะ เชิญชวนผู้ประกอบการรับซื้อขยะ เข้าไปซื้อขยะในชุมชน เพื่อนำเงินที่ได้ไปจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการขึ้นในชุมชนได้ โดยตัวอย่างความสำเร็จอยู่มากมายในเกือบทุกจังหวัด โดยจังหวัดบ้านใกล้เรือนเคียงที่ขับเคลื่อนเป็นรูปธรรม คือที่จังหวัดลพบุรี พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี ได้นำเงินรายได้ที่ขายขยะ มาจัดทำบัญชีเงินฝากของสมาชิกในชุมชนที่เป็นผู้นำขยะมาขาย และบริหารจัดการเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันสมาชิกธนาคารขยะของตำบลโก่งธนู หากเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพรายละกว่า 80,000 บาท รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นแบบในด้านการส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักสวนครัวตามแนวพระราชดำริ “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” จึงขอเชิญชวนทุกท่านได้ศึกษาเรียนรู้และขยายผลในเรื่องที่กล่าวข้างต้น เพื่อทำให้เกิดการ Change for Good เสริมสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับตัวท่านเอง กับคนในครอบครัว กับเพื่อนสมาชิกในชุมชน อันจะส่งผลให้เกิดพลังแห่งการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี ให้กับบ้านเมือง ให้กับประเทศชาติอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้สมาชิกบ้านมั่นคง พอช. ทุกคน เป็นสมาชิกที่เข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน อันมีนัยที่สำคัญ คือ ในหมู่บ้าน ๆ หนึ่ง มีครัวเรือน 50 หลังคาเรือน ซึ่งใน 50 หลังคาเรือนนั้นมีสมาชิกที่บ้านมีความมั่นคง เข้มแข็ง 10 หลัง ซึ่งพวกเราทั้ง 10 หลังนี้ ต้องช่วยกันเสริมสร้างพลังให้หลังคาเรือนอื่น ๆ มีความเข้มแข็งจนครบทั้ง 50 หลังคาเรือน ด้วยการทำให้ทุกครัวเรือนมีบ้านที่อยู่อาศัยที่สะอาด บ้านที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่น บ้านที่มีความมั่นคงด้านอาหาร บ้านที่ผู้คนที่อยู่ในบ้านเป็นเหมือนพวกเราทุกคน คือ เป็นผู้ที่มีจิตอาสา เสียสละ ช่วยเหลือสังคมส่วนรวม อันจะทำให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ขึ้น ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองก็จะเกิดได้ โดยมีภาคีเครือข่าย นั่นคือ ภาคราชการ ภาคผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยกันขยับขยายผลสิ่งที่ดีงามที่ทุกคนได้ทำไปสู่ตำบล/หมู่บ้านอื่น ๆ เพิ่มพูนขึ้นต่อไป อันจะส่งผลดีต่อประเทศชาติ ต่อพี่น้องประชาชน ในด้านการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม และขอให้ความมุ่งมาดปรารถนาที่พวกเราทุกคนมี Passion มีความตั้งใจที่จะช่วยกันขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปจากพี่น้องประชาชนเพื่อนร่วมชาติ จงประสบความสำเร็จ และขอกราบเรียนเน้นย้ำว่า “พวกเราชาวมหาดไทยทุกคนยินดี “เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาของท่าน” ในการที่จะขับเคลื่อนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย และขจัดความยากจนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน”
“กระบวนการทำงานร่วมกันแบบเป็นหุ้นส่วนนั้น สามารถขยายบริบทการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา จากในด้านที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องของการที่พวกเราจะมีความมั่นคงด้านอาหาร นั่นหมายความว่า เมื่อพวกเราได้ช่วยกันทำให้พี่น้องประชาชนในแต่ละบ้านได้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแล้ว เรายังสามารถช่วยกันส่งเสริมการน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเรื่อง “การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร” ตามที่พระองค์ได้พระราชทาน ได้แก่ โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง โครงการทหารพันธุ์ดี โครงการทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ซึ่งภาคีเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งของ พอช. ทุกท่านที่อยู่ในที่นี้เป็นบัวพ้นน้ำ เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นผู้ที่มีทักษะความสามารถ ในการเชิญชวนอรรถาธิบายขยายความให้ผู้คน ให้เพื่อนสมาชิกในชุมชน ได้เกิดความเข้าใจ และคล้อยตาม ด้วยการช่วยกันเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาความเข้าใจให้กับสมาชิกในบ้านที่อยู่ในชุมชน ทั้งสมาชิก พอช. และครัวเรือนอื่น ๆ ในการร่วมกันทำให้พื้นที่ส่วนกลางในชุมชน และพื้นที่ส่วนตัวรอบ ๆ บ้าน ให้มีแปลงผักสวนครัว เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัย ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน และยังก่อให้เกิดกิจกรรมเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ให้เพิ่มพูนมากขึ้นในชุมชน/หมู่บ้านที่พวกเราทุกคนอยู่อาศัย นอกจากนี้ ขอให้ทุกคนได้ช่วยกันขยายผลในด้านความสะอาดสะอ้านของครัวเรือน หลังจากที่มีบ้านที่มั่นคง มีอาหารที่ปลอดภัยแล้ว ด้วยการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน เช่น ทำให้ทุกครัวเรือนมีถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่อที่จะนำขยะที่เป็นเศษอาหาร เศษใบไม้ ใบหญ้า เศษผลไม้ เศษผักที่เหลือจากการทำอาหาร นำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักในระบบปิด เพื่อไม่ให้ขยะนั้นปลดปล่อยก๊าซเสียลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศทำให้เกิดภาวะโลกร้อน รวมถึงการส่งเสริมในเรื่องการคัดแยกขยะที่สามารถไปรีไซเคิลได้ ด้วยการรวบรวมและจัดตลาดนัดขยะ เชิญชวนผู้ประกอบการรับซื้อขยะ เข้าไปซื้อขยะในชุมชน เพื่อนำเงินที่ได้ไปจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการขึ้นในชุมชนได้ โดยตัวอย่างความสำเร็จอยู่มากมายในเกือบทุกจังหวัด โดยจังหวัดบ้านใกล้เรือนเคียงที่ขับเคลื่อนเป็นรูปธรรม คือที่จังหวัดลพบุรี พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี ได้นำเงินรายได้ที่ขายขยะ มาจัดทำบัญชีเงินฝากของสมาชิกในชุมชนที่เป็นผู้นำขยะมาขาย และบริหารจัดการเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันสมาชิกธนาคารขยะของตำบลโก่งธนู หากเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพรายละกว่า 80,000 บาท รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นแบบในด้านการส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักสวนครัวตามแนวพระราชดำริ “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” จึงขอเชิญชวนทุกท่านได้ศึกษาเรียนรู้และขยายผลในเรื่องที่กล่าวข้างต้น เพื่อทำให้เกิดการ Change for Good เสริมสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับตัวท่านเอง กับคนในครอบครัว กับเพื่อนสมาชิกในชุมชน อันจะส่งผลให้เกิดพลังแห่งการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี ให้กับบ้านเมือง ให้กับประเทศชาติอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้สมาชิกบ้านมั่นคง พอช. ทุกคน เป็นสมาชิกที่เข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน อันมีนัยที่สำคัญ คือ ในหมู่บ้าน ๆ หนึ่ง มีครัวเรือน 50 หลังคาเรือน ซึ่งใน 50 หลังคาเรือนนั้นมีสมาชิกที่บ้านมีความมั่นคง เข้มแข็ง 10 หลัง ซึ่งพวกเราทั้ง 10 หลังนี้ ต้องช่วยกันเสริมสร้างพลังให้หลังคาเรือนอื่น ๆ มีความเข้มแข็งจนครบทั้ง 50 หลังคาเรือน ด้วยการทำให้ทุกครัวเรือนมีบ้านที่อยู่อาศัยที่สะอาด บ้านที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่น บ้านที่มีความมั่นคงด้านอาหาร บ้านที่ผู้คนที่อยู่ในบ้านเป็นเหมือนพวกเราทุกคน คือ เป็นผู้ที่มีจิตอาสา เสียสละ ช่วยเหลือสังคมส่วนรวม อันจะทำให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ขึ้น ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองก็จะเกิดได้ โดยมีภาคีเครือข่าย นั่นคือ ภาคราชการ ภาคผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยกันขยับขยายผลสิ่งที่ดีงามที่ทุกคนได้ทำไปสู่ตำบล/หมู่บ้านอื่น ๆ เพิ่มพูนขึ้นต่อไป อันจะส่งผลดีต่อประเทศชาติ ต่อพี่น้องประชาชน ในด้านการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม และขอให้ความมุ่งมาดปรารถนาที่พวกเราทุกคนมี Passion มีความตั้งใจที่จะช่วยกันขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปจากพี่น้องประชาชนเพื่อนร่วมชาติ จงประสบความสำเร็จ และขอกราบเรียนเน้นย้ำว่า “พวกเราชาวมหาดไทยทุกคนยินดี “เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาของท่าน” ในการที่จะขับเคลื่อนนโยบายลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย และขจัดความยากจนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น