รัฐมนตรีฯ วราวุธ ได้กล่าวขอบคุณกรุงเทพมหานครที่ให้โอกาสกรมทรัพยากรน้ำได้มีส่วนร่วมบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนในกรุงเทพฯ โดยการนำเอาเครื่องสูบน้ำหน้าตัด 30 นิ้ว จำนวน 6 เครื่อง มาสนับสนุนการสูบน้ำของกรุงเทพมหานคร ซึ่ง 1 เครื่อง กำลังติดตั้งที่ศรีนครินทร์ เขตบางนา คาดว่าภายใน 24 ชั่วโมงจากนี้ไปจะสามารถเดินเครื่องได้ อีก 4 เครื่องตอนนี้อยู่ที่สถานีสูบน้ำพระโขนงแล้ว ส่วนอีก 1 เครื่องจะเดินทางมาถึงในวันที่ 19 ก.ย. นี้ สำหรับเครื่องสูบน้ำทั้ง 6 เครื่อง นำมาจากสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 2 ภาค 4 ภาค 5 และภาค 6 ทั้งนี้การทำงานในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครมีความละเอียดอ่อน นอกจากการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังมีเรือเล็กและกำลังคนของกรมอุทยานที่พร้อมสนับสนุน หากกรุงเทพต้องการ รวมถึงการกำจัดผักตบชวากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีประสิทธิภาพไม่แพ้หน่วยงานอื่น หากมีมิติใดที่สามารถสนับสนุนการทำงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนชาวกรุงเทพฯ ได้ทางกระทรวงจะเร่งดำเนินการโดยด่วน
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า ครั้งนี้ฝนตกหนักกว่าที่เคย และเกิดเป็นหย่อม ๆ การกระจายเครื่องสูบน้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา สถานการณ์ตอนนี้กรุงเทพมหานครยังขาดเครื่องสูบน้ำอยู่ ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากที่สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 6 เครื่อง อย่างรวดเร็ว ซึ่งกรุงเทพมหานครจะนำมาตั้งที่สถานีสูบน้ำพระโขนงและพื้นที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานกรมชลประธานก็สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ ภาคเอกชนก็มาช่วย ซึ่งวันนี้บริษัทครอบครัวขนส่งได้นำเรือ จำนวน 12 ลำ มาช่วยผลักดันน้ำขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ สำหรับตอนนี้วิกฤติอยู่ที่ลาดกระบัง หัวใจสำคัญคือต้องดึงน้ำไม่ให้ออกไปทางคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออก แต่ให้เข้ามาทางฝั่งตะวันตกก็คือพระโขนง แต่ระยะทางไกลมากจึงต้องรีบผลักดันน้ำจากลาดกระบังเข้ามา ส่วนพื้นที่อื่นบรรเทาลงไปเยอะแล้ว
ตอนนี้มีฝนตกอยู่แถวเขตสะพานสูง สวนหลวง พระโขนง ซึ่งเป็นเขตที่ไม่ได้กังวลมากเพราะอยู่ใกล้ประตูระบายน้ำ แต่กลัวฝนตกในเขตลาดกระบัง ส่วนด้านเหนือที่หนักสุดคือดอนเมืองกับบางเขนแต่ตอนนี้ฝนก็ไม่ได้เยอะมาก ตอนนี้ทั้งสองส่วนด้านบนก็เริ่มบรรเทาแล้ว สำหรับสถานีสูบน้ำพระโขนงจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มอีกห้าเครื่อง ปั๊มน้ำที่นี่ทำงานมาสองอาทิตย์ไม่ได้หยุดจะต้องมีการพักและสลับกัน และดึงน้ำเข้ามาให้มากขึ้น ตอนนี้ที่เห็นหนักสุดคือลาดกระบัง ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ก็แห้งอยู่ บางเขนจะมีพหลโยธินและรามอินทรา 39 ที่ยังเปียกอยู่นิดหน่อย สถานการณ์ทั่วไปต้องดูที่ลาดกระบังเป็นหลักต้องลงไปดูแลและให้กำลังใจพี่น้องลาดกระบังให้เข้มข้น
“การทำเส้นเลือดใหญ่ไม่ง่ายเพราะเป็นโครงการระยะยาวเส้นเลือดใหญ่คือเมกะโปรเจค ทำอุโมงค์ระบายน้ำต้องใช้เวลา 6 ปี ซึ่งก็มีการทำเส้นเลือดใหญ่อยู่แต่ไม่ใช่จะเห็นผลใน 2-3 เดือน ตอนนี้เส้นเลือดใหญ่คือการดูแลปั๊มน้ำให้ทำงานให้เต็มที่ อุโมงค์ระบายน้ำพระโขนงก็ทำเต็มที่ เส้นเลือดใหญ่ที่มีอยู่ทุกตัวก็ทำเต็มที่หมด แต่ปัญหาไม่ใช่เส้นเลือดใหญ่ ปัญหาคือเส้นเลือดฝอยไปไม่ถึงอุโมงค์ระบายน้ำ นาทีนี้ที่หลายที่ไม่ท่วมเชื่อว่าเพราะเส้นเลือดฝอยทะลวงได้ดีขึ้น เส้นเลือดฝอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ช่วยให้พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งอยู่ แต่ประเวศ ลาดกระบังอยู่ไกลจริง ๆ และฝนก็ตกเยอะ ที่ผ่านมาทุ่มกับเส้นเลือดใหญ่มาก สังเกตว่าหลายที่ไม่ได้ลอกท่อระบายน้ำ พอทะลวงท่อก็ดีขึ้นเยอะ อย่างประชาสุข ประชาสงเคราะห์ รามคำแหง เมื่อก่อนน้ำท่วมเป็นวันๆ พอลงไปทำเส้นเลือดฝอยให้ดีขึ้นน้ำก็มาสู่เส้นเลือดใหญ่ได้ดีขึ้น ต้องทำเส้นเลือดฝอยและเส้นเลือดใหญ่ให้สมดุลกัน ในช่วงเวลาจำกัดแค่ 2 เดือน เส้นเลือดฝอยสามารถทำให้เห็นผลได้ ในอนาคตก็ต้องดูเรื่องเส้นเลือดใหญ่ให้ดีขึ้น จะพิจารณาเพิ่มเส้นเลือดใหญ่ของลาดกระบัง อุโมงค์ระบายน้ำพระโขนงก็จะทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประตูสูบน้ำพระโขนงมีสองฝั่ง สำหรับฝั่งที่เป็นอุโมงค์สูบน้ำได้ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนฝั่งที่เป็นประตูเก่าที่กรมชลฯ ให้มาสูบน้ำได้ 155 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เดิมไม่ได้เดินเครื่องเต็มที่เพราะดึงน้ำมาไม่ถึง น้ำไหลมาไม่ทันเพราะไกลมาก น้ำต่ำมากไปปั๊มจะร้อนเพราะปั๊มใช้น้ำเป็นตัวหล่อความร้อนด้วย พยายามกดน้ำให้ได้มากที่สุดแล้วก็เอาเรือมาช่วยผลักดันน้ำด้วย” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว
------------------------------- (พัทธนันท์...สปส. รายงาน)
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า ครั้งนี้ฝนตกหนักกว่าที่เคย และเกิดเป็นหย่อม ๆ การกระจายเครื่องสูบน้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา สถานการณ์ตอนนี้กรุงเทพมหานครยังขาดเครื่องสูบน้ำอยู่ ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากที่สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 6 เครื่อง อย่างรวดเร็ว ซึ่งกรุงเทพมหานครจะนำมาตั้งที่สถานีสูบน้ำพระโขนงและพื้นที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานกรมชลประธานก็สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ ภาคเอกชนก็มาช่วย ซึ่งวันนี้บริษัทครอบครัวขนส่งได้นำเรือ จำนวน 12 ลำ มาช่วยผลักดันน้ำขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ สำหรับตอนนี้วิกฤติอยู่ที่ลาดกระบัง หัวใจสำคัญคือต้องดึงน้ำไม่ให้ออกไปทางคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออก แต่ให้เข้ามาทางฝั่งตะวันตกก็คือพระโขนง แต่ระยะทางไกลมากจึงต้องรีบผลักดันน้ำจากลาดกระบังเข้ามา ส่วนพื้นที่อื่นบรรเทาลงไปเยอะแล้ว
ตอนนี้มีฝนตกอยู่แถวเขตสะพานสูง สวนหลวง พระโขนง ซึ่งเป็นเขตที่ไม่ได้กังวลมากเพราะอยู่ใกล้ประตูระบายน้ำ แต่กลัวฝนตกในเขตลาดกระบัง ส่วนด้านเหนือที่หนักสุดคือดอนเมืองกับบางเขนแต่ตอนนี้ฝนก็ไม่ได้เยอะมาก ตอนนี้ทั้งสองส่วนด้านบนก็เริ่มบรรเทาแล้ว สำหรับสถานีสูบน้ำพระโขนงจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มอีกห้าเครื่อง ปั๊มน้ำที่นี่ทำงานมาสองอาทิตย์ไม่ได้หยุดจะต้องมีการพักและสลับกัน และดึงน้ำเข้ามาให้มากขึ้น ตอนนี้ที่เห็นหนักสุดคือลาดกระบัง ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ก็แห้งอยู่ บางเขนจะมีพหลโยธินและรามอินทรา 39 ที่ยังเปียกอยู่นิดหน่อย สถานการณ์ทั่วไปต้องดูที่ลาดกระบังเป็นหลักต้องลงไปดูแลและให้กำลังใจพี่น้องลาดกระบังให้เข้มข้น
“การทำเส้นเลือดใหญ่ไม่ง่ายเพราะเป็นโครงการระยะยาวเส้นเลือดใหญ่คือเมกะโปรเจค ทำอุโมงค์ระบายน้ำต้องใช้เวลา 6 ปี ซึ่งก็มีการทำเส้นเลือดใหญ่อยู่แต่ไม่ใช่จะเห็นผลใน 2-3 เดือน ตอนนี้เส้นเลือดใหญ่คือการดูแลปั๊มน้ำให้ทำงานให้เต็มที่ อุโมงค์ระบายน้ำพระโขนงก็ทำเต็มที่ เส้นเลือดใหญ่ที่มีอยู่ทุกตัวก็ทำเต็มที่หมด แต่ปัญหาไม่ใช่เส้นเลือดใหญ่ ปัญหาคือเส้นเลือดฝอยไปไม่ถึงอุโมงค์ระบายน้ำ นาทีนี้ที่หลายที่ไม่ท่วมเชื่อว่าเพราะเส้นเลือดฝอยทะลวงได้ดีขึ้น เส้นเลือดฝอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ช่วยให้พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งอยู่ แต่ประเวศ ลาดกระบังอยู่ไกลจริง ๆ และฝนก็ตกเยอะ ที่ผ่านมาทุ่มกับเส้นเลือดใหญ่มาก สังเกตว่าหลายที่ไม่ได้ลอกท่อระบายน้ำ พอทะลวงท่อก็ดีขึ้นเยอะ อย่างประชาสุข ประชาสงเคราะห์ รามคำแหง เมื่อก่อนน้ำท่วมเป็นวันๆ พอลงไปทำเส้นเลือดฝอยให้ดีขึ้นน้ำก็มาสู่เส้นเลือดใหญ่ได้ดีขึ้น ต้องทำเส้นเลือดฝอยและเส้นเลือดใหญ่ให้สมดุลกัน ในช่วงเวลาจำกัดแค่ 2 เดือน เส้นเลือดฝอยสามารถทำให้เห็นผลได้ ในอนาคตก็ต้องดูเรื่องเส้นเลือดใหญ่ให้ดีขึ้น จะพิจารณาเพิ่มเส้นเลือดใหญ่ของลาดกระบัง อุโมงค์ระบายน้ำพระโขนงก็จะทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประตูสูบน้ำพระโขนงมีสองฝั่ง สำหรับฝั่งที่เป็นอุโมงค์สูบน้ำได้ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนฝั่งที่เป็นประตูเก่าที่กรมชลฯ ให้มาสูบน้ำได้ 155 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เดิมไม่ได้เดินเครื่องเต็มที่เพราะดึงน้ำมาไม่ถึง น้ำไหลมาไม่ทันเพราะไกลมาก น้ำต่ำมากไปปั๊มจะร้อนเพราะปั๊มใช้น้ำเป็นตัวหล่อความร้อนด้วย พยายามกดน้ำให้ได้มากที่สุดแล้วก็เอาเรือมาช่วยผลักดันน้ำด้วย” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว
------------------------------- (พัทธนันท์...สปส. รายงาน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น