คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจาก Genea แนะ ‘ฝากไข่’ ‘เก็บสเปิร์ม’ เพิ่มโอกาสที่แม่นยำในการวางแผนครอบครัว - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจาก Genea แนะ ‘ฝากไข่’ ‘เก็บสเปิร์ม’ เพิ่มโอกาสที่แม่นยำในการวางแผนครอบครัว

เทคโนโลยีการ ‘ฝากไข่’ เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยในเรื่องของการมีบุตรของสตรีวัยเจริญพันธุ์เป็นที่ยอมรับกันมากว่า 30 ปีแล้ว และในประเทศไทยเองก็กำลังเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้หญิงวัยทำงาน ที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตรอาจจะด้วยวัยภาระหน้าที่ในการงานหรือเหตุผลหลัก ๆ คือยังไม่เจอคนที่ใช่ คนที่จะเป็นพ่อของลูก ทำให้เทคโนโลยีการฝากไข่ ค่อนข้างเป็นที่นิยมของผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต
การศึกษาข้อมูลการ ‘ฝากไข่’ จนได้รับคำแนะนำดี ๆ จาก พญ. ศศวิมล ปรีชาพรกุล ผู้อำนวยการแพทย์ประจำจีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก จาก Genea ผู้นำด้านเทคโนโลยี และทีมพัฒนาการมีบุตรด้วยวิธีการฝากไข่ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ “วิทยาการการแพทย์ในปัจจุบันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนไข้ที่ต้องการมีบุตรในวัยที่เริ่มยากขึ้น นี่คือประเด็นการรักษาผู้มีบุตรยากในปัจจุบัน เมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น เทคโนโลยีที่จะเก็บรักษาไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์เจริญก้าวหน้าไปได้ไกลขึ้น เราสามารถเก็บรักษาและนำกลับมาใช้ได้จริง ทำให้เกิดเทรนด์ของการเก็บรักษาไข่ไว้ แต่สำหรับหมอ มันคือส่วนนึงของการให้ทางเลือกแก่คนไข้ หรือให้โอกาสที่เพิ่มขึ้นแก่คนไข้” คุณหมอแจนกล่าว


การเก็บไข่ที่สมบูรณ์ที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุ 25 – 28 ปี จะให้ดีคือไม่ควรเกิน 35 ปี และไข่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานกว่า 10 ปีด้วยการแช่แข็งซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี เราพบการว่าการเก็บรักษาไข่ไว้ตั้งแต่ 20 ต้น ๆ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่เราจะเก็บไข่ไว้ใช้ในอนาคต ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วการเก็บไข่คือเก็บไปได้เรื่อย ๆ ตราบนานเท่านาน ไม่มีการหมดอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ขึ้นอยู่กับสถาบัน โดยทั่วไปแล้วก็ 2-3 ปีต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง ซึ่งก็มีกรณีตัวอย่างในต่างประเทศ หญิงชาวยุโรปเก็บไข่ตัวเองมา 20 ปี เพิ่งนำออกมาใช้ ยิ่งผู้หญิงเก็บไข่เร็วเท่าไหร่ คุณภาพไข่ดีกว่าตอนที่อายุเพิ่มมากขึ้น ยังไงไข่ตอนอายุ 25 ก็ต้องดีกว่าตอนอายุ 35 อย่างแน่นอน

“แต่ก็ไม่ได้การันตีว่า เมื่อเก็บไข่ไว้แล้ว แล้วจะสามารถมีบุตรได้แน่นอนในอนาคต แต่เป็นการเพิ่มโอกาสที่เราจะมีลูก เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้เก็บไข่ไว้เลย ก็มีโอกาสมากกว่า”

“เทคโนโลยีที่ดีก็จะมีผลมากกว่าที่จะช่วยให้คนไข้มีบุตรได้สำเร็จตามความตั้งใจ เพราะทุกอย่างของกระบวนการมันคือการเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้เหมือนธรรมชาติให้มากที่สุด โดยอยู่นอกร่างกาย มันไม่ใช่เรื่องง่าย กระบวนการผสมของไข่กับสเปิร์ม การฝังตัวมันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ ทั้งการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เด็กหลอดแก้วคือการเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย เทคโนโลยีที่สามารถทำให้ตัวอ่อนเหมือนอยู่ในร่างกายมากที่สุดคือมีความสำคัญมาก ประสบการณ์ ความเชียวชาญในการรักษาของแพทย์ก็มีผลควบคู่กันไปด้วยกับเทคโนโลยี ขาดไปอย่างใดอย่างนึงไม่ได้ ปัจจุบันยิ่งล้ำหน้าไปอีกด้วยการที่ครอบครัวสามารถดูการเติบโตตัวอ่อนไปด้วยกันได้เลย”

“ในฐานะแพทย์ด้าน Reproductive อยากให้คนเห็นความสำคัญของ Family Planning มากขึ้น อยากมีบุตรตอนอายุเท่าไหร่ กี่คน ผู้หญิง ผู้ชาย ฉะนั้นการเก็บไข่ การเก็บสเปิร์มคือการวางแผนครอบครัว สำหรับอนาคตที่เราควบคุมไม่ได้ที่ดีที่สุด เช่น การฝากไข่คือการวางแผนครอบครัว การจะมีลูกกี่คน เมื่อเมื่อไหร่ ตอนอายุเท่าไหร่ ห่างกันกี่ปี สมมุติว่าคนทั่วไปอยากมีลูก 2 คน มีลูกคนแรกตอนอายุ 35 ปี จะมีลูกอีกคนตอนอายุเท่าไหร่ คนส่วนมากไม่มีการวางแผนไว้ก่อน ส่วนมากจะมีคนแรกแล้วก็คิดว่าจะมีอีกคนก็ไม่น่าจะยาก คนไข้แต่งงานช้ามีลูกคนแรกโดยวิธีธรรมชาติตอนอายุ 37 ปี เลี้ยงลูกคนแรกผ่านไป 3 ปี อยากจะมีลูกอีกคนก็อายุ 40 ปีแล้วมีลูกยากแล้ว ย้อนเวลากลับไปไม่ได้แล้ว เทคโนโลยีการรักษาผู้มีบุตรยากนอกจากจะช่วยคนไข้เรื่องมีบุตรแล้วยังช่วยในเรื่องของการวางแผนครอบครัวด้วย เช่น มาพบหมอตอนอายุ 37 ว่าจะมีลูกคนแรก แล้วตอนอายุ 40 อยากมีอีกคน ก็จะกระตุ้นไข่ เก็บไข่ เก็บตัวอ่อนไว้ และจะมีเองสำหรับคนแรก เพศหญิงหรือชายก็ได้ แต่คนที่ 2 จะกลับเข้ามาใส่ตัวอ่อนที่แช่แข็งไว้ ซึ่งนั่นแปลว่าเมื่อตอนอายุ 40 ครอบครัวนี้ก็มีสิทธิที่จะเลือกว่าอยากมีลูกชาย หรือลูกสาวเป็นคนต่อไป อย่างไม่ลำบากชีวิต ไม่เหนื่อย ไม่ลำบาก โอกาสเยอะกว่าคนอื่นที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน หรืออีกเคส ผู้หญิงแต่งงานตอนอายุน้อย วางแผนครอบครัวกันดีมาก มาทำเด็กหลอดแก้วไว้เลย แล้วไปมีลูกเองแบบธรรมชาติมา 3 คน เป็นผู้หญิงหมดเลย พออยากมีลูกผู้ชาย ก็มาเลือกตัวอ่อนที่เป็นผู้ชายได้เลย เป็นลูกคนสุดท้าย ไม่ต้องมาคอยลุ้น”

กรณีกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้าสู่การรักษา การทำคีโมมีผลต่อการทำงานของรังไข่ในอนาคต ถ้าตรวจพบโรคเร็ว มีเวลามากพอที่จะมาเก็บไข่ไว้ ทั้งไข่ทั้งสเปิร์ม ถือว่าดี กว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้ตัวเองได้มากกว่า รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ที่อาจจะส่งผลต่อรังไข่และสเปิร์ม ก็ควรเก็บไว้

สเปิร์ม ก็มีความสำคัญสามารถเก็บได้ตลอดเช่นกัน เพราะเป็นการเก็บรักษาแบบผลึกแก้ว จะไม่เป็นการทำลายเซลล์ ผู้ชายเมื่ออายุเยอะแล้วสเปิร์มก็ไม่แข็งแรงตามไปด้วย การเคลื่อนไหวลดลง รูปร่างผิดปกติมากขึ้น มีจำนวนน้อยลง คุณภาพน้อยลง อัตราการเกิดความผิดปกติในเด็กจากคุณพ่อที่มีอายุเยอะก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน แม้จะเกิดขึ้นน้อยกว่าผู้หญิงก็ตาม ฉะนั้นการเก็บสเปิร์มไว้ใช้ในอนาคตก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะผู้ชายสมัยนี้ใช้ชีวิตโลดโผน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แอดแวนเจอร์เล่นกีฬาต่าง ๆ แต่หากว่าเก็บสเปิร์มไว้ก่อน สามารถเลือกสเปิร์มที่ดีที่สุดเก็บไว้ได้เลย ไม่ต้องกระตุ้นอะไร ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก็ถูกกว่าของผู้หญิงมาก 1 ใน 10 เลย ผู้ชายบางคนมัวแต่ทำงาน แล้วรวยตอนอายุ 60 แล้ว แต่ไม่มีสเปิร์มแล้ว ไม่มีลูก ไม่มีหลานมาต่อยอดธุรกิจแล้ว”

หากมีการวางแผนทำหมันในผู้ชายก็สามารถมาเก็บสเปิร์มไว้ก่อนได้เช่นกัน เผื่ออนาคตเปลี่ยนแผน เพราะถ้าไม่เก็บสเปิร์มไว้ แล้วทำหมันไป เมื่อเปลี่ยนใจอยากมีบุตรอีกก็ต้องใช้วิธีดูดสเปิร์มออกจากอัณฑะแทน ซึ่งเจ็บมาก หรือผู้หญิงที่ทำหมันแล้ว ก็สามารถมาเก็บไข่ ทำเด็กหลอดแก้ว ผสมนอกร่างกายและใส่กลับเข้าไปได้” คุณหมอผู้เชี่ยวชาญแนะ

หรือแม้แต่กลุ่ม LGBTQ ด้วยความที่ตอนนี้กฎหมายไทยยังไม่ผ่าน จะมีแค่การข้ามเพศ เช่น คนไข้ผู้หญิงที่จะมีการข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย ซึ่งจะต้องมีการตัดรังไข่ทิ้ง เพื่อกินฮอร์โมน แต่เค้าไม่ได้ตัดมดลูกออก มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ก็อาจจะมาเก็บไข่ไว้ เพื่อใช้ในอนาคต หากมีการเปลี่ยนใจ และในอนาคตหากกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถนำมาใช้ได้ หรือคนไข้ผู้ชายที่กำลังจะแปลงเพศ ต้องตัดอัณฑะทิ้ง ก็อาจจะมาเก็บสเปิร์มไว้ได้ เผื่อจะใช้ เพราะตอนนี้เพศสภาพมันหลากหลายมาก มันไม่ได้จำกัดแค่ชายรักชาย หญิงรักหญิงอีกต่อไปแล้ว และ LGTBQ ก็มีสิทธิที่จะเข้าถึงการรักษาขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของกฎหมายของแต่ละประเทศ ซึ่งเราก็ไม่รู้อนาคตว่าจะเปลี่ยนแปลงไปยังไง ฉะนั้น การเก็บรักษาไข่ รักษาอสุจิเอาไว้ ก็เป็นสิทธิของเค้าที่จะทำได้

เทคโนโลยีการรักษาผู้มีบุตรยาก ก็จะตรงไปตรงมามีลูกยากก็รักษาไป แต่ที่ยากคือการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นไข่ หรือสเปิร์ม เรื่องเหล่านี้ไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในบทเรียน เด็กผู้หญิงควรต้องรู้ว่า เรามีโอกาสในการมีบุตรในอนาคตมากแค่ไหน ต้องมีความรู้เรื่องการเก็บรักษาเซลล์สืบพันธุ์ไว้ได้ เรื่องเหล่านี้มันถูกจำกัดความรู้ในวงแคบ ในอีกชนชั้นนึง แล้วเด็กผู้หญิงในที่ห่างไกลจากความเจริญ หรือไม่ได้อยู่ในเรื่องที่เค้าสนใจก็ไม่มีโอกาสรับรู้ หรืออาจคิดว่ามันคือเรื่องไกลตัว แต่ในความจริงมันควรถูกบรรจุอยู่ในวิชาสุขศึกษาเลยด้วยซ้ำ รวมถึงการมีบุตรยังไงให้ถูกต้อง มีบุตรให้เหมาะสมกับวัย มีบุตรเมื่อไหร่ วิชานี้เป็นการวางแผนครอบครัว ประจำเดือน การกินยาคุมกำเนิด การวางแผน การดูแลตัวเองจนถึงในวัยทอง” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวทิ้งท้าย

สำหรับ  Genea Thailand คือ สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้มีบุตรยากมานานกว่า 30 ปีเริ่มต้นจากที่ออสเตรเลีย ถือเป็นสถาบันแรก ๆ ของโลก และยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตร เทคนิคการรักษาที่ทั่วโลกนิยมนำไปใช้ในการรักษา ปัจจุบันยังได้มีการทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ‘Geri’ เป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่ทันสมัยที่สุด ใช้ใน 600 ประเทศทั่วโลก ที่เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์มากกว่าตู้เลี้ยงทั่วไป 24% จากผลการวิจัย และ Grow by Genea ที่สามารถติดตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ทำให้คนไข้มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดเป็นส่วนนึง ทำให้คนไข้เข้าใจกระบวนการรักษาได้ง่ายขึ้น และเทคโนโลยี ‘Gavi” เครื่องแช่แข็งแบบออโตเมติก เครื่องแรกของโลกที่มีความแม่นยำของจุดเยือกแข็ง ทำให้การเก็บรักษาตัวอ่อน ไข่ หรืออสุจิสมบูรณ์แบบ โดยเทคโนโลยี เทคนิค ความรู้ต่าง ๆ ถูกส่งต่อจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์มาสู่ทีมงานในประเทศไทย แบบเดียวกับที่ออสเตรเลียประเทศต้นแบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น