“อลงกรณ์” เล็งตลาดอาหารสัตว์ 3 แสนล้าน เสนอยกระดับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยึด 5 แนวทางสวัสดิการสัตว์ - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565

“อลงกรณ์” เล็งตลาดอาหารสัตว์ 3 แสนล้าน เสนอยกระดับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยึด 5 แนวทางสวัสดิการสัตว์


“อลงกรณ์” เล็งตลาดอาหารสัตว์ 3 แสนล้าน เสนอยกระดับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยึด 5 แนวทางสวัสดิการสัตว์ พร้อมส่งเสริมการใช้โปรตีนแมลงเป็นทางเลือกวัตถุดิบตัวใหม่ ระหว่างพิธีเปิดงาน “มหกรรมสุขภาพสัตว์และโภชนาการอาหารสัตว์แห่งเอเซีย2022”


เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2022 โดยมี นายชยานนท์ กฤตยาเชวง อุปนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และนายจิรัตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวสนับสนุนการจัดงาน
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโรด Covid19 ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนและเศรษฐกิจ โดยรวมของทุกประเทศ ประเทศไทย สามารถรับมือกับปัญหานี้ โดยเฉพาะภาคการผลิตอาหาร เพื่อความปลอดภัยและปลอดโรค Covid19 และภาคการผลิตอาหารสัตว์ และสุขภาพสัตว์ เพื่อการบริโภคเมื่อความการบริโภคอาหารสัตว์ โปรตีน ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงไม่เพียงแต่คุณค่าอาหารเท่านั้น แต่ยังต้องมีระบวนการผลิตที่ปลอดภัยอีกด้วย

ทั้งนี้ จากความต้องการของอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ในปี 2020 ประเทศไทย มีมูลค่าตลาดอาหารสัตว์ อยู่ที่ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเป็น 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2026 ซึ่งมีอัตราเติบโต ที่ 4.2% (CAGR: Compound Annual Growth Rate) โดยผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการการผลิตและส่งออกอาหารสัตว์ประเทศไทยมีการปรับตัวได้เป็นอย่างดี ประกอบกับนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนการแปรรูปผลิตโปรตีนอาหารสัตว์ สำหรับคนและการแปรรูปผลิตอาหารสำหรับสัตว์ (FOOD AND FEED) และนโยบาย FUTURE FOOD

นายอลงกรณ์ยังเรียกร้องให้ยึดหลักสวัสดิภาพของสัตว์ที่เรียกว่า 5 เสรีภาพของสวัสดิภาพสัตว์ (Five Freedoms of Animal Welfare) อันเป็นกฎเกณฑ์สากลทั่วโลกในการเลี้ยงดูสัตว์ และยังส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์อีกด้วย ได้แก่ 1. อิสระจากความหิวกระหาย (Freedom from hunger and thirst) 2. อิสระจากความไม่สบายกาย (Freedom from discomfort) 3. อิสระจากความเจ็บปวดและโรคภัย (Freedom from pain, injury, and disease) 4. อิสระจากความกลัวและไม่พึงพอใจ (Freedom from fear and distress) และ 5. อิสระในการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ (Freedom to express normal behaviour)

เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์โยงกับการค้าระหว่างประเทศและการผลิตต้นน้ำ เช่น กรณีลิงเก็บมะพร้าวกับผลิตภัณฑ์กะทิ เป็นต้น จึงควรที่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ทั้งระบบพึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกกฎกระทรวงยึดแนวทาง “5 เสรีภาพของสวัสดิภาพสัตว์” ตั้งแต่ปี 2561 แล้วขอให้ใส่ความรักความใส่ใจลงไปในทุกขั้นตอนของการผลิตอาหารสัตว์ รวมทั้งขอให้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์สนับสนุนการวิจัยใช้โปรตีนทางเลือกใหม่ เช่น โปรตีนจากแมลงและโปรตีนจากพืชทดแทนวัตถุดิบโปรตีนเดิม เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและดีต่อสุขภาพของสัตว์ ทั้งปศุสัตว์และประมง ตลอดจนยึดระบบการค้าที่เป็นธรรมเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพตลอดห่างโซ่การผลิต

สำหรับงาน VICTAM เป็นการจัดงานร่วมกันครั้งแรก โดยบริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารงานจาก Victam International BV จากประเทศเนเธอแลนด์ ร่วมมือกับ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนในการจัดงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์ เวชภัณฑ์สัตว์ พันธุ์สัตว์ และห้องปฎิบัติการ โดยมีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7 - 9 กันยายน 2565 ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพค เมืองทองธานี

นอกจากนี้ ถือเป็นบันไดขั้นแรกของความพยายามร่วมกันระหว่างไทยและเวียดนามที่จะช่วยเหลือชาวนาให้ได้ราคาข้าวที่เป็นธรรม จากกลไกการค้าข้าวในตลาดโลก โดยเฉพาะในภาวะที่ต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ราคาปุ๋ย ราคายา และราคาน้ำมัน รวมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์จากผลกระทบของวิกฤติซ้อนวิกฤติ คือวิกฤติโควิด19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่ราคาข้าวปรับตัวน้อยมากไม่สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตข้าว

“ในส่วนของรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ความสำคัญกับชาวนามาโดยตลอด ทำทุกอย่างเพื่อดูแลชาวนา ไม่ว่าจะเป็น โครงการประกันรายได้ชาวนา การมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาโควิดครัวเรือนละ 1.5 หมื่น การสนับสนุนปัจจัยการผลิต การยกระดับนาแปลงใหญ่ การพัฒนาพันธ์ุข้าวใหม่ ๆ การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน เป็นต้น และล่าสุดคือการผนึกความร่วมมือระหว่างไทยกับเวียดนามในฐานะประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 และอันดับ 3 ของโลกเพื่อต่อสู้ต่อรองยกระดับราคาข้าวในเวทีโลก” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น