พม. มอบรางวัลทีมชนะการแข่งขัน Hackathon ในประเด็นการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบางในสังคมเมืองในยุคการระบาดของโรค COVID – 19 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565

พม. มอบรางวัลทีมชนะการแข่งขัน Hackathon ในประเด็นการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบางในสังคมเมืองในยุคการระบาดของโรค COVID – 19



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 65 เวลา 13.00 น. ที่ห้อง Magic 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขัน Hackathon ในประเด็นการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบางในสังคมเมืองในยุคการระบาดของโรค COVID – 19 พร้อมมอบรางวัลแก่ทีมที่ชนะการแข่งขัน โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการแข่งขัน ได้แก่ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ธร ปีติดล และนายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน เข้าร่วม

นายธนสุนทร กล่าวว่า ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดการแข่งขัน Hackathon ในประเด็นการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบางในสังคมเมืองในยุคการระบาดของโรค COVID – 19 ระหว่างวันที่ 23 – 24 มิถุนายน 2565 เพื่อให้ได้ข้อเสนอนวัตกรรมทางสังคมสำหรับกลุ่มเปราะบางในสังคมเมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งมีความเสียเปรียบทางด้านโอกาส และการอยู่ในภาวะพึ่งพิง ประกอบกับการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยที่ยังไม่ครอบคลุมและระดับสิทธิประโยชน์ที่ยังไม่เพียงพอ เพื่อนำไปสู่การลดผลกระทบด้านต่างๆ หรือรองรับการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพจากผลกระทบอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสภาวะที่มีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ตั้งแต่ปี 2563นายธนสุนทร กล่าวต่อไปว่า วันเดียวกันนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาตัดสินการแข่งขันจากการนำเสนอแนวคิด/ผลงาน (Pitching) ของทีมที่เข้ารอบสุดท้าย ผลปรากฏว่า 1) ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท คือ ทีมที่ 8 จากบริษัท ทูลมอโร จำกัด ประกอบด้วย นายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ (ผู้ก่อตั้งบริษัท) นายวรชัย ญาติอยู่ นางสาวศุภกาญจน์ จันทร์ประชุม และนางสาวดวงพร สิงห์สถิตย์ นำเสนอในหัวข้อ “หัวอกเดียวกัน” 2) ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท คือ ทีมที่ 2 จากสำนักงานปลัดกระทรวง พม. ประกอบด้วย นายสัญญา โพธิ์ทองคำ นางสาวสุกัญญา ฉัตรกระโทก นางสาวปิยธิดา แอบจันทึก และนางสาวสุรินทร์พร แก้วขา นำเสนอในหัวข้อ “alarm alert wave warning” และ 3) ทีมที่ได้รับรางวัลชมเชย พร้อมมเงินรางวัล 5,000 บาท คือ ทีมที่ 7 ประกอบด้วย นางสาวธนิษศาศ์ อัครพันธุ์ทวี นายศุภวุฒิ แพร่แสงเอี่ยม นางสาวสุพัตรา สำอางค์ศรี และนางสาวพราวตะวัน ฐิติวัชร์ธนากุล นำเสนอในหัวข้อ “ศูนย์การเรียน(รู้)ไปด้วยกัน”ทั้งนี้ กระทรวง พม. โดยกองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม จะนำผลงานที่ได้รางวัลชนะเลิศ หรือประเด็นที่เกี่ยวกับกระทรวง พม. ไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทางสังคมในชุมชนเมืองอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ กระทรวง พม. ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบลและชุมชน โดยจะนำนวัตกรรมนี้ไปปรับใช้กับศูนย์ต่างๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือพ่อ – แม่เลี้ยงเดี่ยว และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเรื่องไหนเราเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ เราจะนำไปปรับใช้ เนื่องจากกระทรวง พม. กำลังต้องการความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ เพื่อให้การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายได้ตรงความต้องการและรวดเร็ว :Cr;มณสิการ รามจันทร์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น