ภัยจากโลกออนไลน์ระบาด วธ.รุกชวนเด็กรุ่นใหม่รู้เท่าทันสื่อ-ภัยข่าวปลอม-กลวิธีรับมือภัยคุกคามและกลโกงในโลกออนไลน์ พร้อมเปิดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการฯ “Youth Leader New Gen สร้างผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่” ดึงเด็กเยาวชน 400 คนทั่วประเทศ สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม-สอนเทคนิคการผลิตสื่อสร้างสรรค์ กลวิธีรับมือภัยคุกคามและกลโกงในโลกออนไลน์ตลอดเดือนมีนาคมนี้
นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายในการขับเคลื่อน ประสานงานและบริหารจัดการเครือข่ายในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในมิติวัฒนธรรม ตลอดจนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พัฒนาศักยภาพของคนในสังคมตลอดช่วงชีวิตเพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์จึงได้ร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา และสภาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชน (Seed Thailand) รุ่นที่ 2 ภายใต้กิจกรรม Youth Leader New Gen สร้างผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom
เนื่องจากปัจจุบันวิถีชีวิตของสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามกระแสโลก และมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางความคิด วิถีชีวิต และรูปแบบการสื่อสาร โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ยุคสื่อใหม่ (New-Media) ทำให้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในด้านการสื่อสาร ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมและกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารหลักในสังคมปัจจุบัน ที่สำคัญจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำมาซึ่งภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ อาทิ ภัยข่าวปลอม (Fake News) การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (Cyberbullying) รวมถึงการฉ้อโกงผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ด้วย
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ด้านสื่อสารมวลชน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงคณะวิทยากรจากโครงการ Seed Project คณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย โดยได้คัดเลือกเด็กเยาวชน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ทั้งใน กรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค รวมถึงผู้แทนจากสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 400 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ระหว่างวันที่ 2-4 มีนาคม 2565 จำนวน 20 จังหวัด กลุ่มที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2565 จำนวน 19 จังหวัด กลุ่มที่ 3 ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม 2565 จำนวน 19 จังหวัดและกลุ่มที่ 4 ระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2565 จำนวน 19 จังหวัด
“การจัดอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาติและเพื่อสร้างบุคลากรแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ที่สามารถพัฒนาให้เป็นต้นแบบที่ดีต่อเด็กและเยาวชนที่พร้อมขยายเครือข่ายในแต่ละกลุ่มเพื่อให้เป็นเยาวชนคุณภาพ รวมถึงเป็นการขยายและพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมให้สามารถดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดีในยุคดิจิทัล ที่สำคัญเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กเยาวชน รู้เท่าทันสื่อและสามารถรับมือภัยคุกคามและกลโกงในโลกออนไลน์ นอกจากนี้มีการสอนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยการผลิตเนื้อหาสื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ทางช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วย” ปลัดวธ. กล่าว
“การจัดอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาติและเพื่อสร้างบุคลากรแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ที่สามารถพัฒนาให้เป็นต้นแบบที่ดีต่อเด็กและเยาวชนที่พร้อมขยายเครือข่ายในแต่ละกลุ่มเพื่อให้เป็นเยาวชนคุณภาพ รวมถึงเป็นการขยายและพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมให้สามารถดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดีในยุคดิจิทัล ที่สำคัญเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กเยาวชน รู้เท่าทันสื่อและสามารถรับมือภัยคุกคามและกลโกงในโลกออนไลน์ นอกจากนี้มีการสอนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยการผลิตเนื้อหาสื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ทางช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วย” ปลัดวธ. กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น