กรมสุขภาพจิต ร่วมกับสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และเครือข่ายพันธมิตร เชิญร่วมงานแถลงข่าว World Bipolar Day 2022 เปิดใจให้ไบโพลาร์ ปี 2 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

กรมสุขภาพจิต ร่วมกับสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และเครือข่ายพันธมิตร เชิญร่วมงานแถลงข่าว World Bipolar Day 2022 เปิดใจให้ไบโพลาร์ ปี 2


“ใกล้ไกล ไบโพลาร์อุ่นใจ ด้วยจิตเวชทางไกล” ในวันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ชั้น 9 อาคารผู้ป่วยใน 9 ชั้น โรงพยาบาลศรีธัญญา

ทั้งนี้จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายชีวิตได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในครั้งนี้ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมทั้งในแง่ของเสรีภาพส่วนบุคคลที่ต้องแยกตัวออกจากสังคม ความมั่นคงทางการเงิน หรือแม้แต่สุขภาพจิต ซึ่งอาจเผชิญกับภาวะความวิตกกังวลในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการกำเริบของโรค ขณะที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีแนวทางร่วมกันในการดูแลรักษาและติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด รวมถึงได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างยั่งยืน

เนื่องด้วยทุกวันที่ 30 มีนาคมของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็น ‘วันไบโพลาร์โลก’ ซึ่งในปี 2565 นี้ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนโดย ซาโนฟี่ ประเทศไทย ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว World Bipolar Day 2022 เปิดใจให้ไบโพลาร์ ปี 2 ภายใต้ธีม “ใกล้ไกล ไบโพลาร์อุ่นใจ ด้วยจิตเวชทางไกล” ในวันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ชั้น 9 อาคารผู้ป่วยใน 9 ชั้น โรงพยาบาลศรีธัญญา (มีรถตู้บริการรับส่ง) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร. สาธิต ปิตุเดชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

ภายในงาน ท่านจะได้รับฟังความรู้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช และผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย โดยไฮไลท์ของงานจะทราบถึงสถานการณ์ไบโพลาร์ในปัจจุบัน และเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขในการสนับสนุนผู้ป่วยจิตเวช และการเสวนา “ใกล้ไกล ไบโพลาร์อุ่นใจ ด้วยจิตเวชทางไกล” รวมถึงการแชร์ประสบการณ์ตรงจากผู้ป่วยไบโพลาร์ อีกทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในโครงการนำร่อง เพื่อให้สังคมไทยตระหนักรู้ถึงพฤติกรรมและอาการของผู้ป่วย พร้อมที่จะเข้าใจและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ เกิดทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยไบโพลาร์ ซึ่งถือเป็นอีกแรงบันดาลใจสำคัญต่อการเปิดใจยอมรับผู้ป่วยและเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างถูกต้อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น