"ประยุทธ์"กล่าวปาฐกถาในการประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียนของสำนักข่าว Bloomberg ย้ำ 3 แนวทางสำคัญ ยั่งยืน-เข้มแข็ง-ครอบคลุม เพื่อสร้างเศรษฐกิจ และนำความเ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในการก้าวสู่ยุคหลังโควิด-19ติบโตกลับมา - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

"ประยุทธ์"กล่าวปาฐกถาในการประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียนของสำนักข่าว Bloomberg ย้ำ 3 แนวทางสำคัญ ยั่งยืน-เข้มแข็ง-ครอบคลุม เพื่อสร้างเศรษฐกิจ และนำความเ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในการก้าวสู่ยุคหลังโควิด-19ติบโตกลับมา


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวปาฐกถาในการประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียนของสำนักข่าว Bloomberg ครั้งที่ 7 (7th Bloomberg ASEAN Business Summit) ผ่านบันทึกเทปวีดิทัศน์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 เวลาประมาณ 16.55 น. ตามเวลาประเทศไทย ผ่านระบบ live stream ของสำนักข่าว Bloomberg โดยมีบุคคลสำคัญร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในงาน อาทิ นายวิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ นายชาน ชุน ซิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ และนางศรี มูลยานี อินทราวาตี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย เป็นต้น 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ ว่า  นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้รับเชิญให้มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ร่วมกับผู้นำรัฐบาลและผู้บริหารภาคธุรกิจระดับโลก ในหัวข้อ “การนำความเติบโตกลับมาสู่ระดับก่อนโควิด” (Bringing growth back to pre-pandemic levels) เป็นเป้าหมายหลักของไทย และทุกประเทศในโลก ที่ต้องหันกลับมาทบทวน แสวงหาจุดแข็ง และก้าวไปข้างหน้า ฟื้นตัวอย่างมั่นคง โดยในปี 2564 เศรษฐกิจของไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3.5 - 4.5 จากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการส่งออก และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความสำคัญ 3 แนวทาง ได้แก่
1. ยั่งยืน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล โดยมีโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคม
2. เข้มแข็ง ใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็งของประเทศ รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ MSMEs ในยุคหลังโควิด ตลอดจนการเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น หลากหลาย และมั่นคง
3. ครอบคลุม สร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย และรับมือกับความท้าทายในอนาคต

ในระดับภูมิภาค นายรัฐมนตรีกล่าวว่า อาเซียนฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และยังคงมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน คาดว่า เศรษฐกิจของอาเซียนจะเติบโตร้อยละ 5.2 ในปีนี้ และหากการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนสามารถกลับมาสู่ระดับก่อนโควิดได้ คาดว่า GDP ของอาเซียนจะเลื่อนจากอันดับ 5 ในปัจจุบัน ขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ภายในปี 2573 นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า การบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคจะช่วยเพิ่มพลวัตทางเศรษฐกิจให้กับอาเซียน และสนับสนุนการเติบโตที่ครอบคลุมและกว้างขวาง

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นควรเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนวาระการเติบโตที่ยั่งยืนและเข้มแข็งของอาเซียน การเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชน และการสนับสนุนของประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอกของอาเซียน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากข้อริเริ่มของอาเซียนด้านการเงินที่ยั่งยืน นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ภาคธุรกิจอาเซียนมีความพร้อม มีศักยภาพ และความสามารถในการปรับตัวและแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในยุคหลังโควิด-19 โดยมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศที่เกื้อกูลต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เข้มแข็ง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำความเจริญเติบโตกลับมาสู่ภูมิภาค ซึ่งไทยมุ่งมั่นขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนและส่งเสริมการรวมตัวของภูมิภาคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อให้อาเซียนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก และเพื่อประโยชน์ของประชาชนของเราสืบต่อไป

ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค 2022 ของไทย ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ไทยกำลังผลักดัน การรวมตัวทางเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความท้าทายใหม่ ๆ จากบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลง การเร่งฟื้นคืนความเชื่อมโยงในภูมิภาคที่ปลอดภัยและไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการทำให้เศรษฐกิจหลังโควิด-19 เติบโตอย่างครอบคลุม ยั่งยืน และสมดุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น