สรพ. ร่วมกับ ทีมนวัตกร สวทช. เข้าเยี่ยมเสริมพลังและติดตามความก้าวหน้าผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech) - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2567

สรพ. ร่วมกับ ทีมนวัตกร สวทช. เข้าเยี่ยมเสริมพลังและติดตามความก้าวหน้าผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech)


ดร. บรรจง จำปา รองผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ร่วมกับ นายเกียรติรัตน์ ทองผาย ทีมนวตกร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำทีมเข้าเยี่ยมเสริมพลังและติดตามความก้าวหน้าผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech) ในวันที่ 6 - 7 พฤษภาคม 2567 ณ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และ โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่


โดยในวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 ได้เข้าเยี่ยมเพื่อติดตามการพัฒนานวัตกรรมของโรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ที่ได้นำเอาผลงานการพัฒนาตามต้นแบบ Rapid Response Alert จากแม่ข่ายโรงพยาบาลหาดใหญ่ นำมาพัฒนาต่อยอดในโรงพยาบาลบ้านโฮ่ง เป็นการพัฒนานวัตกรรม ระบบแจ้งเตือน “อาการทรุดลงทันใด ผู้ป่วยในปลอดภัยมากขึ้น” นำการเฝ้าระวังด้วย National Early Warning Score (NEWS2) มาประมวลผลเป็น Early Detection ทำให้อัตรา Unplan tube, CPR, Shock ลดลง


และ วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ได้เข้าเยี่ยมเพื่อติดตามการพัฒนานวัตกรรม ของโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ “เรื่องถูกคน ถูกที่ ถูกใจ นอน-นั่งอย่างปลอดภัยไว้ใจได้หายห่วง” โดยได้นำต้นแบบการบริหารจัดการเปลโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ร่วมกับมีไฟส่งขอสัญญาณของโรงพยาบาลศิริราช มาพัฒนาต่อยอดเป็นแอพพลิเคชั่น/เสียงเตือน โดยรถเข็นเปลนั่ง/นอน จะมีสัญญาณเสียงแจ้งขอทาง Safety Alarm ส่งสัญญาณเปิดทางปลอดภัย



สำหรับจากการเข้าเยี่ยมเสริมพลังครั้งนี้ทาง สรพ. และสวทช. รับทราบความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค รวมถึงขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลต้นแบบ เพื่อการพัฒนาต่อยอดจนสำเร็จต่อไปให้ทีมนวัตกรรม รพ. สามารถใช้งานได้จริงตามแผนการติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาผลงาน ที่แบ่งเป็น 4 สถานะ ดังนี้ ขั้น 1 อยู่ในระหว่างการวางแผนพัฒนา/อนุมัติดำเนินโครงการ ขั้น 2–2.5 กำลังดำเนินการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การทดลองใช้จริง ขั้น 3 นวัตกรรมต้นแบบเสร็จแล้วและดำเนินการทดลองใช้จริง ขั้น 4 มีการประเมินผลการทดลองใช้จริง มีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อได้ และมานำเสนอแลกเปลี่ยนหรือ Pitching ในครั้งต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น