ปลัด พม. นำทีมเครือข่าย นักสังคมสงเคราะห์ เดินเท้าเข้าหา พาคนเปราะบางพ้นวิกฤติ ลุยช่วย “คนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง” ที่ถนนราชดำเนิน..S - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567

ปลัด พม. นำทีมเครือข่าย นักสังคมสงเคราะห์ เดินเท้าเข้าหา พาคนเปราะบางพ้นวิกฤติ ลุยช่วย “คนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง” ที่ถนนราชดำเนิน..S


เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม “เดินเท้าเข้าหา พาคนเปราะบางพ้นวิกฤติ” ภายใต้ปฏิบัติการ “คนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง” พร้อมนางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ คณะผู้บริหารกระทรวง พม. ภาคีเครือข่าย และนักสังคมสงเคราะห์ ลงพื้นที่พบปะพูดคุย และมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสิ่งให้คนไร้บ้าน กลุ่มเปราะบาง อีกทั้งเยี่ยมชมบูธกิจกรรมและบริการของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ราชดำเนิน ณ บริเวณลานพระแม่ธรณีบีบมวยผม ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ



นายอนุกูล กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ได้เปิดตัวปฏิบัติการ “คนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง” เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและคนไร้ที่พึ่ง โดยปล่อยขบวนรถหน่วยเคลื่อนที่เร็วศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ออกปฏิบัติการพร้อมกัน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ลงพื้นที่ต่อเนื่องจนมาถึงการจัดกิจกรรม “เดินเท้าเข้าหา พาคนเปราะบางพ้นวิกฤติ” ภายใต้ แนวคิด “พม.หนึ่งเดียว” เป็นความร่วมมือกันระหว่างกระทรวง พม. และภาคีเครือข่ายที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการทำงานเชิงรุก ลงพื้นที่พูดคุย ดูแล ถามสารทุกข์สุกดิบ และประเมินสภาพปัญหาของกลุ่มเปราะบาง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองและสังคม พร้อมทั้งมีการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งมอบสวัสดิการตามสิทธิ จนเกิดเป็นกิจกรรมมากมาย ประกอบด้วย ปฏิบัติการ “Fact Finding” ค้นหา สอบข้อเท็จจริง พาเข้าถึงบริการรัฐ บริเวณถนนราชดำเนิน และ กิจกรรม “คนดีราชดำเนิน” โดยเปิดบูธให้บริการภาครัฐ อาทิ จุดคัดกรองการให้ความช่วยเหลือโดยนักสังคมสงเคราะห์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม บริการตรวจสุขภาพโดยสภากาชาด บริการย้ายสิทธิการรักษาโดย สปสช. บริการทำบัตรประชาชนเคลื่อนที่โดยกรุงเทพมหานคร และบริการตัดผมฟรี เป็นต้น





นายอนุกูล กล่าวว่า ปฏิบัติการครั้งนี้ไม่ได้มีความร่วมมือจาก กทม. เพียงหน่วยงานเดียว แต่ยังมีเครือข่ายฝ่ายความมั่นคง หรือ กอ.รมน. กระทรวงสาธารณสุข กรมการปกครอง ที่เข้ามาเชื่อมทั้งหมดต่อไปยังภูมิภาคที่คนไทยย้ายถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น พี่น้องกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มคนไร้บ้านบางครั้งมีข้อจำกัดที่เราไม่เคยทราบข้อมูล บางคนเพียงแค่บัตรประชาชนหาย ทำให้กลับบ้านหรือภูมิลำเนาไม่ได้ กระทรวง พม. และ กทม. ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานรับเรื่องในด้านต่างๆ ที่ประสบปัญหา เช่น บัตรประชาชนหาย เรื่องอาชีพ เป็นต้น ทั้งนี้ การทำความเข้าใจกับคนไร้บ้าน ต้องใช้เวลาพอสมควร ต้องมีการสื่อสารที่ผ่านความไว้วางใจ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ฝากถึงนักสังคมสงเคราะห์ และกิจกรรมวันนี้อาจจะไม่จบวันนี้ แต่ถ้าวันต่อไป อาจจะมีการมาอีกครั้ง ซึ่งการมาบ่อยๆ จะทำให้เราได้คุยหาปัญหาร่วมกันอย่างแท้จริง นอกจากนี้ เราต้องสร้างความเข้าใจและหากระบวนการให้เขาเหล่านั้นได้อยู่ในที่ปลอดภัย มีอาชีพที่มั่นคง และยกระดับทักษะอาชีพ โอกาสการมีงานทำ เนื่องจากคนเปราะบางกลุ่มนี้ คือแรงงานสำคัญ เพราะว่าอัตราการเกิดที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสุดท้ายคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในข้อจำกัด ให้ได้รับโอกาสอย่างทั่วถึง และต้องขอขอบคุณทางเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่มาร่วมกันขับเคลื่อนสร้างกรุงเทพมหานครให้น่าอยู่และเกิดความเชื่อมั่นจากคนต่างชาติ รวมถึงคนไทยเช่นกัน
#ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #ปฏิบัติการคนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง #คนไร้ที่พึ่ง #คนไร้บ้าน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น