“วราวุธ” ย้ำนักสังคมสงเคราะห์ต้องเปลี่ยนการทำงานจากเดิม “การสงเคราะห์” เป็น “การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ”...S - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567

“วราวุธ” ย้ำนักสังคมสงเคราะห์ต้องเปลี่ยนการทำงานจากเดิม “การสงเคราะห์” เป็น “การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ”...S


เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาในการประชุมวิชาการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 และระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 7 โดยมี นายอนันต์ ดนตรี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย Dr. Sang-Mok Suh ประธานสภาสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ Dr. Annamaria Campanini ประธานสมาคมสถาบันการศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ระหว่างประเทศ Prof. Machiko OHARA ประธานสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก Ms. Kyungsun Kim ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กทม.


นายวราวุธ กล่าวว่า เนื่องในโอกาส “วันสังคมสงเคราะห์โลก” ประจำปี 2567 ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกของสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ (IFSW) ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของงานสังคมสงเคราะห์ โดยมีนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เป็นบุคลากรขับเคลื่อนและสร้างสรรค์งานสังคมสงเคราะห์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และมุ่งสู่การสร้างความกลมเกลียวและความสมานฉันท์ของชุมชนและสังคม ทั้งนี้ ปี 2567 การเฉลิมฉลองวันสังคมสงเคราะห์โลก จัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม 2567 ณ สาธารณรัฐปานามา โดยสมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ และได้กำหนดแนวคิดหลักในปีนี้ คือ "Buen Vivir: Shared Future for Transformative Change" "ชีวิตที่ดี : อนาคตร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับฐานราก" เพื่อกระตุ้นให้นักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ได้ทบทวนแนวทางการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและแนวทางที่ขับเคลื่อน โดยชุมชนเป็นหัวใจหลัก


ของแนวทางการปฏิบัติงาน หลักการ "Buen Vivir" จึงมุ่งเน้นไปที่ “ความเป็นอยู่ที่ดี” ของชุมชน ซึ่งมีรากฐานมาจากการอยู่รวมกันของชุมชนกับธรรมชาติ ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและสมดุล ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 อีกทั้งยังเป็นเครื่องเตือนใจสำหรับนักสังคมสงเคราะห์ ให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และการส่งเสริมชุมชนให้มีการพัฒนาและสร้างความเจริญบนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกันและความยั่งยืน



นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. และภาคีเครือข่ายด้านสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทยและภูมิภาค ร่วมกันจัดงานวันสังคมสงเคราะห์โลก ประจำปี 2567 เพื่อเป็นโอกาสนำเสนอภาพลักษณ์อันดีของประเทศไทย และการตระหนักรู้ของประชาคมโลกเกี่ยวกับผลดำเนินของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนงานสังคมสงเคราะห์ งานสวัสดิการสังคม และการพัฒนาในภาคส่วนต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงเป็นการใช้โอกาสในเวทีความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อยกย่องการอุทิศตนของนักสังคมสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดบริการ กิจกรรม และโครงการด้านสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม และการพัฒนาในประเทศ



นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ และปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศกว่า 2,000 คน และจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกฝน เพิ่มเติมความรู้ และพัฒนาทักษะให้มีความรู้และความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับฐานรากให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งกระทรวง พม. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม และมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถของนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในโลกที่เปลี่ยนแปลง#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม #esshelpme #วราวุธรับฟังทำจริง #พมพอใจให้ทุกวัยพึงพอใจในพม #พมหนึ่งเดียว #ศรส #พม #วันสังคมสงเคราะห์โลกปี2567


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น