Amnesty แถลงข่าวผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Amnesty แถลงข่าวผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564


เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2564 ณ ห้องประชุมลูนาร์ ชั้น 10 โรงแรม อวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ (AVANI Riverside Bangkok)

โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ “มุมมองชีวิตท่ามกลางวิกฤต ‘โควิด-19’ ผ่านเลนส์สิทธิมนุษยชน” ประเภทเยาวชนและบุคคลทั่วไป


นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเชิญชวนให้เราต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น

ทั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสื่อในการเป็นแนวหน้าของการติดตามถกเถียงประเด็นสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม


ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้

รางวัลดีเด่นข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “คนอยู่กับป่า? การจากลาและคืนถิ่นของกะเหรี่ยงบางกลอย”

นิตยสารสารคดี

รางวัลชมเชยข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “ความสำคัญที่ต้องตามเกาะติด ‘พ.ร.บ.ป้องกันทรมาน-อุ้มหาย’”

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

รางวัลดีเด่นข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “What Happened to Wanchalearm?”

สำนักข่าวประชาไท

รางวัลชมเชยข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ 4 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “หัวอกลูก หัวใจแม่ : 112 กับความล่มสลายของครอบครัว”

เว็บไซต์ The101.world
ผลงานเรื่อง “WE NEVER KNOW WHAT TOMORROW BRINGS:’ COVID STRANDS THOUSANDS OF REFUGEES IN THAILAND”

เว็บไซต์ Khaosod English
ผลงานชุด “สามัญชนบน ‘สมรภูมิดินแดง’ แค้น คลั่ง ทะลุแก๊ซ”

เว็บไซต์วอยซ์ทีวี
ผลงานเรื่อง “ความพ่ายแพ้ของผู้ชนะ คลิตี้หลังคำพิพากษา สายน้ำยังคงติดเชื้อ”

เว็บไซต์ WAY Magazine

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวไม่เกิน 20 นาที) 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานชุด “วัคซีนเสริมภูมิพลเมือง”

สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวไม่เกิน 20 นาที) 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานชุด “ผลกระทบกะเหรี่ยงอพยพหนีภัยการสู้รบ ชายแดน จ.แม่ฮ่องสอน ไทย-เมียนมา” สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36

รางวัลดีเด่นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

1 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “ซอกหลืบเยาวราช” รายการคนจนเมือง

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) 3 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “สวัสดิการเด็กไม่ถ้วนหน้า" รายการสารตั้งต้น

สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36
ผลงานเรื่อง “คนหนีตาย” รายการเปิดปม

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ผลงานเรื่อง “มานิ – จาไฮ ชีวิตบนเส้นด้าย” รายการเปิดปม

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 5 รางวัล ได้แก่
ผลงานเรื่อง “บาดแผลสีแดง | Red's scar”

สำนักข่าวประชาไท
ผลงานเรื่อง “ลุงดร เกตุเผือก : สื่อ - ชาวบ้าน - ประชาธิปไตย I เมื่อชีวิตอุทิศเป็นสื่อประชาชน” แมกกาซีนออนไลน์ URBAN CREATURE
ผลงานเรื่อง “เด็ก โดน คดี สิทธิเด็กเป็นอย่างไร ใต้การดำเนินคดีการเมือง”

สำนักข่าว workpointTODAY
ผลงานเรื่อง “3 แม่แกนนำ "ราษฎร" ร่วมขบวน "เดินทะลุฟ้า" เรียกร้องยกเลิก ม.112”

สำนักข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย
ผลงานเรื่อง “ ‘อยากกลับบ้าน’ เพราะบ้านหลังเดียวของบางกลอยคือใจแผ่นดิน” สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “มุมมองชีวิตท่ามกลางวิกฤต ‘โควิด-19’ ผ่านเลนส์สิทธิมนุษยชน” ประเภทเยาวชน 5 รางวัล ได้แก่
ผลงานโดย ศวิตา พูลเสถียร
ผลงานโดย สุไลมาน ตันหยงอุตง
ผลงานโดย สุภัสสรา หาดทราย
ผลงานโดย ตรัย สิทธิเสนา
ผลงานโดย ศวิตา พูลเสถียร

ส่วนรางวัลป๊อปปูล่าโหวตในประเภทนี้ 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานโดย ตรัย สิทธิเสนา

รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “มุมมองชีวิตท่ามกลางวิกฤต ‘โควิด-19’ ผ่านเลนส์สิทธิมนุษยชน” ประเภทบุคคลทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานโดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “มุมมองชีวิตท่ามกลางวิกฤต ‘โควิด-19’ ผ่านเลนส์สิทธิมนุษยชน” ประเภทบุคคลทั่วไป 4 รางวัล ได้แก่
ผลงานโดย สุภณัฐ รัตนธนาประสาน
ผลงานโดย เสกสรร โรจนเมธากุล
ผลงานโดย ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช
ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์

ส่วนรางวัลป๊อปปูล่าโหวตในประเภทนี้ 1 รางวัล ได้แก่
ผลงานโดย ฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ

นางสาวฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีการพุดคุยในหัวข้อ “Voice of Rights: จากคลิตี้ บางกลอยถึงจะนะ สื่อมวลชนสำคัญแค่ไหน ในวันที่ประชาชนลุกขึ้นปกป้องชุมชน” โดยสามตัวแทนเยาวชนที่ลุกขึ้นมาปกป้องบ้านเกิดของตัวเอง ทั้ง ธนกฤต โต้งฟ้า ตัวแทนชาวบ้านคลิตี้ ไครียะห์ ระหมันยะ ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ และพงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ตัวแทนชาวบ้านบางกลอย

ในตอนท้ายทางผู้จัดได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ เนาวรัตน์ เสือสอาด หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มือถือ 089 922 9585 หรืออีเมล media@amnesty.or.th
ดูภาพงานได้ที่นี่ https://bit.ly/3pAQgz5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น