บรอนซ์สยามไฟน์ อาร์ต เปิดโครงการพุทธศิลป์เพื่อสังคม นำ 2 ผลงานทรงคุณค่า พระพุทธมหาสตินุสรณ์ และพระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566

บรอนซ์สยามไฟน์ อาร์ต เปิดโครงการพุทธศิลป์เพื่อสังคม นำ 2 ผลงานทรงคุณค่า พระพุทธมหาสตินุสรณ์ และพระไภษัชยคุรุไวฑูรย์


บรอนซ์สยามไฟน์ อาร์ต นำ 2 ผลงานพุทธศิลป์ทรงคุณค่าร่วมจัดแสดงในงาน “นิทรรศการพุทธศิลปกรรม รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2565” คือ พระพุทธมหาสตินุสรณ์ และพระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ ผลงานการออกแบบโดย อ.วัชระ กว้างไชย์ อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อนำรายได้สมทบทุนการศึกษานักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

นิทรรศการพุทธศิลปกรรม รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2565 จัดโดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับ วัดร่องขุ่น และศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จัดแสดงผลงานนักศึกษา สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ร่วมกับศิลปินผู้ทรงผู้ทรงคุณวุฒิประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านสุนทรียศาสตร์ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานด้านพุทธศิลปกรรมและการอนุรักษ์งานพุทธศิลปกรรมให้คงอยู่สืบไป


บรอนซ์สยามไฟน์ อาร์ต ในฐานะผู้ผลิตชิ้นงานพุทธศิลป์ จึงได้นำ 2 ผลงานทรงคุณค่า คือ พระพุทธมหาสตินุสรณ์ และ พระไภษัชยคุรุไวยฑูรย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพุทธศิลป์เพื่อสังคม ผลงานการออกแบบโดย อ.วัชระ กว้างไชย์ อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายผลงานภายในงาน สมทบเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาสาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ต่อได้ สำหรับ “โครงการพุทธศิลป์เพื่อสังคม” เป็นโครงการเพื่อสังคม โดยการนำศิลปะมารับใช้สังคม ในรูปแบบของการสร้างสรรค์ผลงานพุทธศิลป์ออกจำหน่ายสู่สาธารณะ และนำรายได้จากการจำหน่ายมาใช้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ ซึ่งสำหรับในครั้งนี้ นำมอบให้เป็นทุนการศึกษา แก่นักศึกษางานสาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ศิลปิน และส่งต่อคุณค่าคืนให้แก่สังคมได้อีกด้วย

สันติ สุพล ผู้บริหาร บริษัท บรอนซ์สยาม ไฟน์อาร์ต จำกัด กล่าวว่า “แรกเริ่มนั้นทางบริษัท เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ คือ เนื้อบรอนซ์ เพื่อนำมาสร้างงานศิลปะต่างๆ ทั้งพระพุทธรูป งานพุทธศิลป์ต่างๆ เราได้มีโอกาสรังสรรค์งานระดับใหญ่ อาทิ อนุสาวรีย์ ทั้วประเทศ เราจึงมีความคุ้นเคย มีหลักยึดและศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงมีดำริที่อยากจะสร้างงานศิลป์เพื่อสังคม ทั้งนี้สำหรับโครงการแรก ผมได้จัดแบ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย เพื่อสนับสนุน 4 องค์กรการกุศลหลัก ได้แก่ ศิริราชมูลนิธิ เพื่อผู้ป่วยยากไร้ มูลนิธิอาร์ตโนแฮนด์ เพื่อศิลปินพิการ มูลนิธิเพื่อเพื่อนมูลนิธิ และสมทบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาขาดแคลน หลักสูตรระยะสั้น สาขางานวิชาพุทธศิลปกรรม ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น ทั้งนี้จากจุดกำเนิดเมื่อสี่ปีที่แล้วที่เราจัดโครงการอาสาศิลป์ เพื่อให้การสนับสนุนศิลปินจิตอาสา สู่โครงการพุทธศิลป์เพื่อสังคม ในปัจจุบัน ที่ได้รับความไว้วางใจจาก อาจารย์วัชระ กว้างไชย์ อาจารย์สอนงานพุทธศิลป์แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ให้ได้รังสรรค์ 2 ผลงาน เพื่อสังคม ได้แก่ คือ พระพุทธมหาสตินุสรณ์ และ พระไภษัชยคุรุไวยฑูรย์ จึงขอฝากผลงานเพื่อสังคมอันทรงคุณค่านี้ ให้ทุกท่านด้วยนะครับ” สำหรับอาจารย์วัชระ กว้างไชย์ ศิลปินผู้ออกแบบผลงานพุทธศิลป์ ในโครงการฯ ได้กล่าวว่า “งานนิทรรศการพุทธศิลปกรรม ที่ได้จัดแสดงอยู่ตลอดเดือนนี้นั้น เป็นงานที่ได้รวบรวมผลงานของอาจารย์และผู้เรียนในทุกระดับชั้น ที่ได้เรียนหลักสูตรระยะสั้นในสาขาพุทธศิลปกรรม ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ผมขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมชมผลงานในงานนี้ สำหรับผมนั้นเป็นความตื่นเต้น สำหรับผมในงานนี้ได้นำผลงานประติมากรรม 2


อาจารย์วัชระ กว้างไชย์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ผลงานพุทธศิลป์ที่นำมาแสดง ได้แก่ พระพุทธมหาสตินุสรณ์ เป็นการนำเสนอปริศนาธรรม แฝงไว้ด้วยคติธรรมอุปกิเลศ 16 คือ เครื่องเตือนใจที่ทำให้มนุษย์เศร้าหมอง และ พระไภษัชยคุรุไวยฑูรย์ พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นครูทางการแพทย์ ปกปักษ์รักษาความเจ็บป่วย โดย 2 ผลงานที่จัดแสดงในงานนี้ อยู่ในโครงการพุทธศิลป์เพื่อสังคม ซึ่งบริษัท บรอนซ์สยามไฟน์ อาร์ต จัดทำขึ้นเพื่อนำผลงานศิลปะมารับใช้สังคม โดยในที่นี้คือ นำรายได้มอบเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ ในภาควิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อีกด้วยครับ สุดท้ายนี้ผมขอเชิญชวนทุกท่านมาเที่ยวชมงาน เชื่อว่าจะได้แรงบันดาลใจดีๆ ได้รับชมสุนทรียทางศิลปะ กลับไปไม่มากก็น้อยนะครับ”

ผู้ที่สนใจสามารถร่วมชมผลงานทรงคุณค่า พระพุทธมหาสตินุสรณ์ และพระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ และสามารถสนับสนุนผลงานของศิลปินได้ภายในงาน นิทรรศการพุทธศิลปกรรม รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2565 ที่จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 - 30 กันยายน 2566 เวลา 10.00 – 22.00 น. ณ ICON ART & Culture Space ชั้น 8 ICONSIAM สอบถามข้อมูลเพิ่ม โทร. 02 418 2885,098 263 8694


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น