สรพ. ร่วมงาน “วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล” (ประเทศไทย) BREAK THE CORRUPTION “ไม่ทํา ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง” - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566

สรพ. ร่วมงาน “วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล” (ประเทศไทย) BREAK THE CORRUPTION “ไม่ทํา ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง”


นางสาวชัชชญา บุณย์ศิริ หัวหน้ากลุ่มภารกิจอำนวยการ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล และเจ้าหน้าที่สถาบัน ร่วมงาน “วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล” (ประเทศไทย) “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” ภายใต้แนวคิด BREAK THE CORRUPTION “ไม่ทํา ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ ฮอลล์ 4 อาคารศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี


งานนี้ได้รับเกียรติจาก นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธี ประกาศเจตจํานงในการต่อต้านการทุจริต โดยมีพลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้กล่าวรายงาน


วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (International Anti-Corruption Day) ถือกำเนิดขึ้นหลังจากที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ (UN) มีมติเห็นชอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต พ.ศ. 2546 (United Nations Convention Against Corruption – UNCAC , 2003) อย่างเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 จากนั้นประเทศภาคีเครือข่ายสหประชาชาติจำนวน 191 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนาม ในอนุสัญญาฯ ระหว่างวันที่ 9 - 11 ธันวาคม 2546 ณ เมืองเมอริด้า ประเทศเม็กซิโก ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติ จึงประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล โดยอนุสัญญาฯ ได้กำหนด ประเด็นความร่วมมือที่สำคัญของรัฐภาคี 3 ประการ ได้แก่ ด้านมาตรการเชิงป้องกัน : ทุกประเทศต้องมุ่งป้องกัน ปัญหาคอร์รัปชันเป็นอันดับแรก ด้านการบัญญัติความผิดทางอาญา : ทุกประเทศต้องถือว่าการคอร์รัปชัน ทุกรูปแบบ คือ อาชญากรรม และด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ : ทุกประเทศต้องให้ความร่วมมือในการทำให้ อนุสัญญาฯ มีผลในทางปฏิบัติได้จริง


สำหรับงานในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล, สํานักงาน ป.ป.ช., สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประกาศเจตจำนงของผู้นำประเทศและผู้นำทุกภาคส่วนในการป้องกันแก้ไขและปราบปรามการทุจริต 2. ผสานพลังคนไทยและทุกภาคส่วนให้ตื่นรู้พร้อมต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ เพื่อให้สังคมไทยมีวัฒนธรรม ต่อต้านการทุจริต 3. ให้คนไทยและนานาชาติรับรู้ถึงความมุ่งมั่นและการแก้ไขปัญหาการทุจริตในประเทศไทย เพื่อผลักดันการยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (ค่า CPI) ให้สูงกว่าร้อยละ 50 ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น