มท.1 ย้ำคนจนต้องได้รับโอกาสในการพัฒนา รัฐบาลไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทุกหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 65 เวลา 15.30 น. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมงานเสวนา "ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม" ในหัวข้อ "ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ" ร่วมกับศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
.
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือสำหรับการค้นหาคนจนแบบมุ่งเป้า (TPMAP) มีเป้าหมายครัวเรือนตั้งต้น 619,111 ครัวเรือนทั่วประเทศ และตรวจสอบปัญหาใน 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านความเป็นอยู่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านรายได้ และมิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยมีทีมพี่เลี้ยงปูพรมลงพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องแบบ Intensive Care เปรียบเหมือนครูที่สอนนักเรียน ซึ่งจะมีทั้งนักเรียนที่สามารถเรียนผ่านเกณฑ์และเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ โดยนักเรียนที่เรียนไม่ผ่านเกณฑ์นั้นอาจจะมีปัญหาต่างกัน ครูก็จะใช้วิธีติวหรือสอนเพิ่มพิเศษ เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเหล่านั้นสามารถเรียนได้ผ่านตามเกณฑ์เป้าหมาย เป็นการให้โอกาสในการพัฒนาและให้การดูแลแบบใกล้ชิด
.
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกลไกการขับเคลื่อน รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน โดยกระทรวงมหาดไทยได้มีกลไกการทำงานขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ทั้งในระดับจังหวัด (ศจพ.จ.)/กรุงเทพมหานคร (ศจพ.กทม.) ระดับอำเภอ (ศจพ.อ.) ทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนในระดับพื้นที่ (ทีมปฏิบัติการตำบล) และทีมพี่เลี้ยง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานระดับพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยทีมปฏิบัติการตำบลและทีมพี่เลี้ยงจะลงพื้นที่ "แบบเคาะประตูบ้าน" สำรวจครัวเรือนยากจนจากฐานข้อมูลตามระบบ TPMAP และมีการจัดทำแผนครัวเรือนร่วมกันระหว่างทีมพี่เลี้ยงและครัวเรือน โดยใช้หลักร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา จากนั้นทีมปฏิบัติการตำบลจะทำหน้าที่จัดทำร่างแผนการแก้ไขปัญหาเป็นรายครัวเรือน และให้ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.) บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาได้ร่วมกับครัวเรือนแก้ไขปัญหาโดยจะแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ เพื่อให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
.
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวทิ้งท้ายว่า รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่าการแก้ไขปัญหาทั้งหมดทุกมิติต้องทำโดยทุกหน่วยงาน ไม่ใช่เพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือกระทรวงมหาดไทยเพียงหน่วยงานเดียว โดยจะมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาในระดับอำเภอ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องแก้ไข หรือปัญหาด้านการศึกษาเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้แก้ไข โดยให้ใช้งบประมาณในปี 2565 ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
.
.
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือสำหรับการค้นหาคนจนแบบมุ่งเป้า (TPMAP) มีเป้าหมายครัวเรือนตั้งต้น 619,111 ครัวเรือนทั่วประเทศ และตรวจสอบปัญหาใน 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านความเป็นอยู่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านรายได้ และมิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยมีทีมพี่เลี้ยงปูพรมลงพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องแบบ Intensive Care เปรียบเหมือนครูที่สอนนักเรียน ซึ่งจะมีทั้งนักเรียนที่สามารถเรียนผ่านเกณฑ์และเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ โดยนักเรียนที่เรียนไม่ผ่านเกณฑ์นั้นอาจจะมีปัญหาต่างกัน ครูก็จะใช้วิธีติวหรือสอนเพิ่มพิเศษ เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเหล่านั้นสามารถเรียนได้ผ่านตามเกณฑ์เป้าหมาย เป็นการให้โอกาสในการพัฒนาและให้การดูแลแบบใกล้ชิด
.
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกลไกการขับเคลื่อน รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน โดยกระทรวงมหาดไทยได้มีกลไกการทำงานขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ทั้งในระดับจังหวัด (ศจพ.จ.)/กรุงเทพมหานคร (ศจพ.กทม.) ระดับอำเภอ (ศจพ.อ.) ทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนในระดับพื้นที่ (ทีมปฏิบัติการตำบล) และทีมพี่เลี้ยง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานระดับพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยทีมปฏิบัติการตำบลและทีมพี่เลี้ยงจะลงพื้นที่ "แบบเคาะประตูบ้าน" สำรวจครัวเรือนยากจนจากฐานข้อมูลตามระบบ TPMAP และมีการจัดทำแผนครัวเรือนร่วมกันระหว่างทีมพี่เลี้ยงและครัวเรือน โดยใช้หลักร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา จากนั้นทีมปฏิบัติการตำบลจะทำหน้าที่จัดทำร่างแผนการแก้ไขปัญหาเป็นรายครัวเรือน และให้ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.) บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาได้ร่วมกับครัวเรือนแก้ไขปัญหาโดยจะแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ เพื่อให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
.
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวทิ้งท้ายว่า รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่าการแก้ไขปัญหาทั้งหมดทุกมิติต้องทำโดยทุกหน่วยงาน ไม่ใช่เพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือกระทรวงมหาดไทยเพียงหน่วยงานเดียว โดยจะมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาในระดับอำเภอ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องแก้ไข หรือปัญหาด้านการศึกษาเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้แก้ไข โดยให้ใช้งบประมาณในปี 2565 ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น