ผู้เชี่ยวชาญแนะ SMEs ควรให้เวลากับการวางแผนธุรกิจ ดีกว่าต้องสูญเวลาไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่มีวันจบสิ้น - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ผู้เชี่ยวชาญแนะ SMEs ควรให้เวลากับการวางแผนธุรกิจ ดีกว่าต้องสูญเวลาไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่มีวันจบสิ้น


จากปัญหาเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ในหลายปีที่ผ่านมา ทุกองค์กรธุรกิจต่างตระหนักกันดีแล้วว่า สถานการณ์ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ผันผวนสูงที่สุด “อุปสรรค” และ “ความเสี่ยง” ที่เกิดขึ้น หนักหนาเกินกว่าที่องค์กรเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลง องค์กรส่วนใหญ่เริ่มมองหาตัวช่วย ซึ่งได้แก่ “ที่ปรึกษาทางธุรกิจ” และเริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับ “การวางแผนธุรกิจ” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงกันมากขึ้น
จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่แบ่งตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 1/2565 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 22,347 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564 จำนวน 14,902 ราย เพิ่มขึ้น จำนวน 7,445 ราย คิดเป็น 50% และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2564 จำนวน 23,389 ราย ลดลง จำนวน 1,042 ราย คิดเป็น 4%

มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ในไตรมาสที่ 1/2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 74,397.53 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2564 จำนวน 57,250.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จำนวน 17,147.45 ล้านบาท คิดเป็น 30% และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2565 จำนวน 70,074.93 ล้านบาท ลดลงจำนวน 4,322.60 ล้านบาท คิดเป็น 6%

ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 2,362 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,048 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 696 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 16,449 ราย คิดเป็น 73.61% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 5,616 ราย คิดเป็น 25.13% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 239 ราย คิดเป็น 1.07% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 43 ราย คิดเป็น 0.19%

จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำไตรมาส 1/2565 มีจำนวน 2,594 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 40,472.15 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 241 ราย คิดเป็น 9% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 125 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 79 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,845 ราย คิดเป็น 71.13% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 637 ราย คิดเป็น 24.56% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 92 ราย คิดเป็น 3.55% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 20 ราย คิดเป็น 0.77% ตามลำดับ

ณ เดือนมีนาคม 2565 (ณ วันที่ 31 มีนาคม 65) มีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 828,706 ราย มูลค่าทุน 19.73 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 200,733 ราย คิดเป็น 24.22% บริษัทจำกัด จำนวน 626,635 ราย คิดเป็น 75.62% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,338 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ (ที่มา : กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาทางธุรกิจมากว่า 10 ปี แนะว่า “ปัญหาความผันผวนที่เกิดขึ้น ถ้ามองว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็ใช่อยู่ แต่ถ้าบริษัทมีจุดแข็งที่แข็งแกร่งมาก จะสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้

ดังนั้น การอ้างถึงปัจจัยภายนอกเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องพิจารณาให้ครบถ้วนด้วยว่า บริษัทมีจุดแข็งใดบ้าง ถ้าไม่มีหรือไม่เคยนำจุดแข็งที่มีอยู่มาสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


จุดแข็งที่ทุกองค์กรต้องมีคือการมีระบบการบริหารที่เข้มแข็ง คือ ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management: TQM) การมีระบบความคิดที่เป็นเชิงกระบวนการ มีความเป็นเหตุผล คือการบริหารเชิงวิถีพุทธ การมีปัจจัยที่เข้มแข็ง คือ งาน การเปลี่ยนแปลง และคน ทั้งหมดนี้จะทำให้มีจุดแข็ง ที่แข็งแกร่ง สามารถสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้ สิ่งสำคัญคือการทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกด้วยการให้ความสำคัญต่อผังกระบวนการธุรกิจ ซึ่งหากวางแผนได้ดีจะช่วยให้การบริหารกระบวนการธุรกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผังการบริหารกระบวนการธุรกิจ ที่ดี ประกอบด้วย

• กระบวนการระดับที่ 1 คือ ผังกระบวนการธุรกิจ (Business Process Flow Chart) เป็นกระบวนการหลักระดับฝ่าย/แผนก ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้าจนถึงส่งมอบสินค้าและบริการให้ลูกค้า
• กระบวนการระดับที่ 2 คือ ผังกระบวนการทำงาน (Work Process Flow Chart) เป็นกระบวนภายในของระดับฝ่าย/แผนก ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้าจนถึงส่งมอบงานให้ลูกค้า (ภายใน) ฝ่าย/แผนกถัดไป
• กระบวนการระดับที่ 3 คือ วิธีการปฏิบัติงาน (Work Instruction) ภายใน ผังกระบวนการทำงานของระดับฝ่าย/แผนก (ภายในวิธีการปฏิบัติงาน ควรมีแบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติงานด้วย)

ซึ่งกระบวนการทั้ง 3 ระดับนี้ จะเป็นการสื่อสารขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน จากข้างบนลงสู่ข้างล่างและจากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบน การให้ความสำคัญกับกระบวนการจึงเป็นการคุยกันรู้เรื่อง ใช้ภาษาเดียวกัน รู้สึกได้ถึงความมีชีวิตชีวาในการทำงาน

ผังกระบวนการที่มีชีวิต คือ การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (Business Process Improvement) อยู่เสมอตามปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง และตามความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้การสื่อสารในขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานจากผู้บริหารลงสู่พนักงาน และจากพนักงานขึ้นสู่ผู้บริหาร ก็จะมีความเข้าใจกันตลอดเวลา เมื่อวางแผนให้ถูกทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกแล้ว องค์กรก็จึงจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ดังนั้น องค์กรและผู้บริหารควรให้เวลาและความสำคัญต่อผังกระบวนการธุรกิจและปรับปรุงผังกระบวนการธุรกิจอยู่เสมอ ตามปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ดีกว่าต้องสูญเวลาไปกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น”

ทั้งนี้อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์ ได้สรุปองค์ความรู้ทั้งหมดจากประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจมากว่า 10 ปี ออกมาเป็นหลักการ แนวคิด แบบฟอร์มสำคัญต่าง ๆ พร้อมกับกรณีศึกษา เพื่อเป็นตัวช่วยและเป็นทางเลือกให้กับ SMEs ที่กำลังมองหาที่ปรึกษาหรือหลักในการวางแผนการบริหารธุรกิจ ได้มีคู่มือ แบบฟอร์มเครื่องมือ สำหรับการบริหารธุรกิจ ไว้ในหนังสือ “คัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน” และขยายความ ไว้ในคอร์สออนไลน์ “คัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน” โดยผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และพนักงาน ที่มีความตั้งใจในการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ต้องการพัฒนาระบบการบริหารให้แข็งแกร่ง สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.wishbookmaker.com โทร. 0 2418 2885

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น