พม.โดยกรมเด็กฯประกาศนโยบายคุ้มครองเด็ก จากการถูกกระทำความรุนแรงทุกรูปแบบ..00 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

พม.โดยกรมเด็กฯประกาศนโยบายคุ้มครองเด็ก จากการถูกกระทำความรุนแรงทุกรูปแบบ..00

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่  18 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 น. นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกาศความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนโยบายคุ้มครองเด็กของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกแสวงประโยชน์หรือถูกใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กและการไม่เลือกปฏิบัติต่อเด็ก เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรคุ้มครองเด็ก ภายใต้หลักความเป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้


นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เปิดเผยว่า นโยบายการคุ้มครองเด็กเป็นพันธกรณี ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยมีแนวแนะการเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาเด็กโดยไม่ใช้ความรุนแรงในทุกสภาพแวดล้อม ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 แนวแนะฯ ครอบคลุมการคุ้มครองเด็กในสภาพแวดล้อมในบ้าน ชุมชน โรงเรียน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สถานรองรับ สถานพินิจ และสถานประกอบการ สำหรับกรมกิจการเด็กและเยาวชนได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายคุ้มครองเด็กในสถานรองรับเด็กของกรมฯ โดยร่วมกับองค์การยูนิเซฟ และองค์การเฟรนด์ฯ ประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ด้วยการพัฒนากรอบการปฏิบัติงานคุ้มครองเด็ก 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การรับบุคลากรเข้าปฏิบัติหน้าที่ 2) การให้ความรู้และฝึกอบรม 3) โครงสร้างระบบการคุ้มครองเด็ก 4) ข้อปฏิบัติต่อเด็ก 5) การสื่อสารกับบุคลภายนอก 6) การรายงานและการดำเนินการ และ 7) ผลสืบเนื่องจากการกระทำผิด ถือเป็นพันธะผูกพันสำหรับเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมกิจการเด็กและเยาวชน เพื่อประกันว่า การดำเนินงานในทุกขั้นตอนทั้งที่เป็นการปฏิบัติต่อเด็กโดยตรงหรือการปฏิบัติงานอื่นที่ส่งผลกระทบต่อเด็กจะมี กรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนนโยบายคุ้มครองเด็กในสถานรองรับเด็กแล้ว 54 แห่ง

ปีนี้กรมกิจการเด็กและเยาวชนพร้อมขยายการขับเคลื่อนนโยบายคุ้มครองเด็กให้ครอบคลุมสถานรองรับเด็ก 108 แห่ง โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการมีกลไกการคุ้มครองเด็ก 2 ระดับ คือ 1) ระดับสถานรองรับเด็ก ประกอบด้วย ทีมเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก และคณะทำงานคุ้มครองเด็ก และ 2) ระดับกรมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานคุ้มครองเด็กระดับกรมฯ เพื่อเป็นกลไกการให้คำปรึกษาแนะนำแก่สถานรองรับเด็ก ติดตามตรวจสอบและดำเนินการกรณีมีการละเมิดเด็กเกิดขึ้น และ คณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายคุ้มครองเด็ก โดยกลไกทั้งสองระดับจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเด็กภายนอกเข้ามาเป็นคณะทำงานด้วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้

นอกจากนี้ กรมฯ กำหนดให้การดำเนินงานนโยบายคุ้มครองเด็กเป็นตัวชี้วัดในมาตรฐานของสถานรองรับเด็ก การกำหนดข้อปฏิบัติที่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก และการดำเนินการเพื่อประกันว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำ การละเมิดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้น

นางจตุพร ฯ เน้นย้ำเจตนารมณ์ที่สำคัญว่า การประกาศนโยบายคุ้มครองเด็กในวันนี้ไม่ใช่เพียงแค่การดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยรับรองไว้ แต่เป็นพันธกิจของกรมกิจการเด็กและเยาวชนซึ่งเจ้าหน้าที่ ทุกคนมีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องยึดถือ และนำไปปฏิบัติในทุกขั้นตอนอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการผลักดันเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานที่ดูแลจัดให้มีนโยบายการคุ้มครองเด็ก เพื่อให้เด็ก ทุกคนจะปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น