​นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ ผลักดันความร่วมมือต่อเนื่อง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน..00 - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

​นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ ผลักดันความร่วมมือต่อเนื่อง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน..00



เมื่อวันที่  18 พฤษภาคม 2565 เวลา 11.30 น. นายมาเร็ก ลิบชีตซกี (Mr. Marek Libřický) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กประจำประเทศไทย เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสพ้นจากหน้าที่ ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้

นายกรัฐมนตรี ขอบคุณเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ ที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันตลอดระยะเวลากว่า 5 ปีที่ดำรงตำแหน่ง เชื่อมั่นว่าประสบการณ์ที่เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ ได้รับตลอดการทำงานที่ประเทศไทยจะช่วยสานต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในปี 2567 จะเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ จึงหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเพื่อกระชับความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ได้กล่าวยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับและพบหารือกับนายอันเดรย์ บาบิช อดีตนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นการเยือนระดับนายกรัฐมนตรีครั้งแรก โดยหวังว่าจะได้เห็นการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับเพิ่มมากขึ้นต่อไป

เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ กล่าวขอบคุณความร่วมมือและการสนับสนุนในทุกระดับทั้งจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่สาธารณรัฐเช็กให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในด้านการค้าการลงทุน ไทยถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญในอาเซียน พร้อมชื่นชมการทำงานของรัฐบาลในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 โดยเชื่อมั่นว่า ภายหลังสถานการณ์คลี่คลาย ทั้งสองประเทศจะสานต่อการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อผลักดันความสัมพันธ์และความร่วมมือในอนาคต

ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ระหว่างกัน ดังนี้
- ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน นายกรัฐมนตรียินดีที่การค้าระหว่างกันในปี 2564 ที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึงกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเช็กถือเป็นประเทศหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยปัจจุบันมีธุรกิจไทยลงทุนในเช็ก ขณะเดียวกันเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ เห็นว่าทั้งสองฝ่ายยังมีช่องทางที่จะขยายการลงทุนระหว่างกันได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนะถึงการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เช่นเดียวกับแผน European Green Deal (EDC) ของสหภาพยุโรป เพื่อสร้างการเจริญเติบทางเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

- ด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรียินดีที่ทั้งสองประเทศต่างเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมระหว่างกัน ชื่นชมเช็กที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม โดยเห็นว่าในอนาคตควรมีแผนพัฒนาแลกเปลี่ยนกลุ่มนักท่องเที่ยวระหว่างกัน เช่น การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ มีการเดินทางท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและบริการที่มีคุณภาพ โดยรัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ด้านเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ คาดหวังว่าภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย จะมีการเส้นทางบินตรงกรุงเทพมหานคร-กรุงปราก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในอนาคต

- ด้านการทหาร ทั้งสองฝ่ายยินดีที่กระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศมีการประสานงานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่ในเดือนตุลาคมปีนี้ ฝ่ายเช็กได้เชิญเข้าร่วมงาน Future Forces Forum 2022 ซึ่งจะมีผู้แทนไทยเข้าร่วม
- ด้านความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคี นายกรัฐมนตรีหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเช็ก (Joint Commission on Economic Cooperation: JEC) ครั้งที่ 3 เพื่อเป็นโอกาสในการหารือแนวทางที่มีอยู่เดิม และความร่วมมือในสาขาใหม่ อาทิ สาธารณสุข Startup การจัดการสิ่งแวดล้อม และการทูตอวกาศ ขณะที่ด้านความร่วมมือพหุภาคี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กฯ ยืนยันว่า เช็กจะให้การสนับสนุนไทยในการฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU และการลงนามความตกลง Thailand-EU PCA และพร้อมให้การสนับสนุนไทยในกรอบ EU ต่อไป

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่เช็กจะดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสหภาพยุโรป ระหว่างเดือนกรกฏาคม-ธันวาคม 2565 รวมทั้งยินดีต่อการประกาศยุทธศาสตร์เพื่อความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของ EU ซึ่งไทยพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อผลักดันให้ EU และอาเซียนมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น