พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ถือเป็นบุคคลและเครือข่ายที่มีคุณค่าในการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการให้ประสบความสำเร็จ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล สามารถประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ลูกจ้างมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อเป็นการขับเคลื่อนสุขภาวะองค์กร โดยการพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการให้มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมในครั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนเครื่องมือ กลยุทธ์ วิธีการ สำหรับการขับเคลื่อนสุขภาวะองค์กรและได้จัดทำหลักสูตรในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานขึ้นมา เพื่อให้มีศักยภาพด้านการวางแผนดำเนินการ และประเมินผลด้านสุขภาพมากขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 100 คน และเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่ภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง) จำนวน 50 คน รวมทั้งหมด 150 คน ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดแนวคิดที่นำไปดำเนินการวางแผนการดูแลสุขภาพตามความเหมาะสมต่อบริบทขององค์กรและเป็นต้นแบบที่ดีให้กับสถานประกอบกิจการอื่น ๆ ต่อไป
นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมในครั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนเครื่องมือ กลยุทธ์ วิธีการ สำหรับการขับเคลื่อนสุขภาวะองค์กรและได้จัดทำหลักสูตรในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานขึ้นมา เพื่อให้มีศักยภาพด้านการวางแผนดำเนินการ และประเมินผลด้านสุขภาพมากขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 100 คน และเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่ภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง) จำนวน 50 คน รวมทั้งหมด 150 คน ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดแนวคิดที่นำไปดำเนินการวางแผนการดูแลสุขภาพตามความเหมาะสมต่อบริบทขององค์กรและเป็นต้นแบบที่ดีให้กับสถานประกอบกิจการอื่น ๆ ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น