Amnesty ประเทศไทย กระตุ้นใหเรัฐถอนร่างพระราชบัญญัติองค์กรไม่แสวงผลกำไรอาจถูกใช้เพื่อปราบปรามภาคประชาสังคม - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Amnesty ประเทศไทย กระตุ้นใหเรัฐถอนร่างพระราชบัญญัติองค์กรไม่แสวงผลกำไรอาจถูกใช้เพื่อปราบปรามภาคประชาสังคม


ก่อนจะถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 ธันวาคม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกระตุ้นรัฐบาลให้ถอนร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ....ทันที หลังได้พิจารณาสำเนาของร่างกฎหมายฉบับล่าสุดแล้ว

โรเซียน ไรฟ์ รองผู้อำนวยการภูมิภาค แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า กฎหมายที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิจนเกินขอบเขตเช่นนี้ อาจถูกใช้ในทางที่ผิด เพื่อขัดขวางการดำเนินงาน หรือถึงขั้นสั่งปิดองค์กรระดับรากหญ้าจำนวนมาก รวมทั้งกลุ่มประชาสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศในไทย ซึ่งคุกคามต่อสถานะของไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคขององค์กรไม่แสวงผลกำไรในระดับประเทศและระหว่างประเทศ

“การกำหนดลักษณะงานที่ต้องห้ามในร่างกฎหมาย มีเนื้อหากว้างเกินไป ครอบคลุมงานหลายด้าน และเปิดโอกาสให้มีการปฏิบัติมิชอบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินโดยปรกติของภาคประชาสังคม”

“ในบรรดามาตราต่าง ๆ ของร่างฉบับล่าสุดที่สร้างปัญหา มีอยู่หนึ่งมาตราที่ห้ามองค์กรไม่แสวงหากำไรไม่ให้ทำงานที่กระทบต่อ ‘ความสงบเรียบร้อย’ ‘ศีลธรรมอันดี’ หรือ ‘ความเป็นอยู่โดยปกติสุขของบุคคลอื่น’ คำที่มีเนื้อหากำกวมเช่นนี้ ทำให้หลายองค์กรเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าการใช้อำนาจที่ขาดการตรวจสอบ และเป็นไปตามดุลพินิจของทางการ ในประเทศที่มีประชากร 70 ล้านคน ข้อบทอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ อาจถูกนำมาใช้โดยพลการได้อย่างง่ายดาย เพื่อจำกัดอย่างรุนแรงต่อสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ และสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเน้นย้ำถึงความสำคัญของความโปร่งใส และกระบวนการรับฟังความเห็นที่มีส่วนร่วมได้อย่างจริงจัง และกระตุ้นให้ทางการไทยแสวงหาความเห็นเพิ่มเติมจากสาธารณะ องค์กรไม่แสวงหากำไร และพันธมิตร เพื่อให้กฎหมายนี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ”

“เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ทันที และยืนยันถึงพันธกรณีทั้งตามรัฐธรรมนูญของตนและพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ”


ข้อมูลพื้นฐาน

ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ....ฉบับล่าสุดคือฉบับวันที่ 21 ธันวาคม 2564 หลังจากมีการเผยแพร่ร่างก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม และก่อนหน้าในปีนี้

ในปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีการจัดรับฟังความเห็นเพิ่มเติม ก่อนจะเสนอร่างนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาหรือไม่

สำหรับบทวิเคราะห์อย่างละเอียดเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับล่าสุด โปรดดูจดหมายเปิดผนึกที่ลงนามโดยองค์กรภาคประชาสังคมทั้งของไทยและต่างประเทศกว่า 40 แห่ง รวมทั้งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น