"บิ๊กตู่"สั่ง “บิ๊กเฮ้ง” แก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติทะลัก จัดประชุมชงแนวทางนำเข้า MOU เสนอ ศบค. ศุกร์นี้ - MSK News

Breaking

Home Top Ad

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"บิ๊กตู่"สั่ง “บิ๊กเฮ้ง” แก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติทะลัก จัดประชุมชงแนวทางนำเข้า MOU เสนอ ศบค. ศุกร์นี้


เมื่อวันที่ 10 พย. 64 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมพิจารณาแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)โดยมีนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายณัฐวัฒน์ ธีรทัศน์ธำรง คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน และผู้แทนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กรมควบคุมโรค และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน กำชับกระทรวงแรงงานเตรียมความพร้อมการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานทะลักหลังการเปิดประเทศ โดยผลการสำรวจความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว พบความต้องการถึง 4 แสนกว่าอัตรา ซึ่งผลการประชุมวันนี้ มีการหารือกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และรับฟังความเห็นจาก รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อทบทวนและ หาแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลังหารือทุกหน่วยงานเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการฯตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และเตรียมเสนอต่อศบค. ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 คาดว่าจากนี้ 30 วันจะสามารถนำเข้าแรงงานตาม MoU ได้ทันที

“สำหรับประเทศไทยขณะนี้มีความพร้อมเรื่องวัคซีนแล้ว ในส่วนนี้ผมเตรียมไว้ 4 - 5 แสนโดส เพื่อฉีดให้แก่แรงงานต่างด้าวในวันสุดท้ายของการกักตัว โดยแรงงานต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ต้องกักตัว 7 วัน หากฉีด 1 เข็ม หรือยังไม่เคยรับวัคซีนยังไม่ครบจะต้องกักตัว 14 วัน ระหว่างกักตัวจะมีการตรวจหาเชื้อโควิด ด้วยวิธี RT – PCR 2 ครั้ง โดยให้นายจ้าง/สถานประกอบการ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วยค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจหาเชื้อ COVID-19 ค่ารักษา (กรณีคนต่างด้าวติดเชื้อ COVID-19) โดยมีค่าใช้จ่ายในการนำเข้ารวม 9,700 – 26,720 บาท” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า แนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศยื่นแบบคำร้อง ณ กรมการจัดหางานหรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน โดยนายจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการกักตัวคน ต่างด้าว ได้แก่ ค่าสถานที่กักตัว ค่าตรวจโรคโควิด - 19 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษาพยาบาลกรณีติดเชื้อโรคโควิด - 19 หรือจัดให้มีกรมธรรม์ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ และรักษาพยาบาลซึ่งคุ้มครองการรักษาโรคโควิด - 19 ค่าใช้จ่ายอื่นที่อาจเกิดขึ้นขณะกักตัวรวมถึงกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือโรคอื่นระหว่างกักตัว พร้อมแสดงหลักฐานการจอง การชำระค่าใช้จ่ายสถานที่กักตัวซึ่งทางราชการกำหนดหรือสถานที่กักตัวเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการในประเทศ และนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตฯ ต้องมียานพาหนะเพื่อรับคนต่างด้าวไปยังสถานที่กักตัวโดยไม่เดินทางร่วมกับบุคคลอื่น รวมถึงห้ามแวะพักสถานที่ใด ๆ ก่อนถึงสถานที่กักตัว ฝ่ายเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสาร ออกใบรับ และจัดทำหนังสือส่งคำร้องให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศต้นทางของคนต่างด้าว

2. ฝั่งประเทศต้นทางรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา จัดทำบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าวส่งให้นายจ้างไทย

3. นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตฯ ได้รับบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name List) ที่ผ่านการรับรองจากประเทศต้นทางของคนต่างด้าวแล้ว ให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่ระบุในแบบคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว รวมถึงแสดงเอกสารหรือหลักฐานการได้รับวัคซีนของคนต่างด้าวครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนกำหนด ซึ่งต้องเป็นวัคซีนที่รับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนเดินทาง (ถ้ามี)ให้นายจ้างจัดซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลซึ่งคุ้มครองการรักษาโรคโควิด - 19 และจัดให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่ต้องเข้าประกันสังคมเข้าระบบประกันสังคม กรมการจัดหางานตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดเก็บเงินค่ายื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท และค่าหลักประกัน (กรณีนายจ้างนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานเอง) 1,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน และออกใบเสร็จรับเงินให้นายจ้าง

4. กรมการจัดหางานจัดทำหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทาง กัมพูชา ลาว) /สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย เพื่อพิจารณาตรวจลงตราวีซ่า (Non - Immigrant L-A) ซึ่งมีค่าธรรมเนียม 2,000 บาทแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่นายจ้างได้แจ้งไว้ โดยนายจ้าง ผู้รับอนุญาตฯ รับหนังสือจากกรมการจัดหางานและจัดส่งให้คนต่างด้าว พร้อมแจ้งกำหนดวันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามวันที่ได้รับคิวเข้ารับการกักกันตัว

5. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรต้องแสดงเอกสาร หลักฐานที่ได้รับจากนายจ้าง และแสดงใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่มีเชื้อโรคโควิด - 19 ตรวจโดยวิธี RT-PCR มีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางเข้ามา และใบรับรองการได้รับวัคซีนโควิด - 19 ตามเกณฑ์ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการทำงาน (Non - Immigrant L-A) เป็นระยะเวลา 2 ปี จากนั้นจึงเดินทางไปยังสถานที่กักตัว โดยยานพาหนะที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแจ้งไว้เท่านั้น โดยต้องเดินทางตามเส้นทางที่กำหนด ห้ามแวะสถานที่ใดๆ ก่อนถึงสถานที่กักตัว และยานพาหนะต้องสามารถบันทึกภาพได้ตลอดระยะเวลาเดินทาง

6. คนต่างด้าวต้องเข้ารับการกักตัว และมีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด - 19 โดยวิธี RT - PCR ดังนี้

กรณีคนต่างด้าวฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบแล้ว กักตัวอย่างน้อย 7 วัน ตรวจโรคโควิด - 19 จำนวน 2 ครั้ง

กรณีคนต่างด้าวที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือได้รับการฉีดวัคซีนแต่ยังไม่ครบตามเกณฑ์ กักตัวอย่างน้อย 14 วัน ตรวจโรคโควิด - 19 จำนวน 2 ครั้ง โดยกระทรวง1แรงงานสนับสนุนวัคซีนเพื่อดำเนินการฉีดให้แรงงานต่างด้าวในวันสุดท้ายของการกักตัว ทั้งนี้ กรณีตรวจพบเชื้อโควิด - 19 ให้เข้ารับการรักษา โดยค่าใช้จ่ายในการรักษานายจ้างหรือกรมธรรม์ ที่นายจ้างทำให้คนต่างด้าวเป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อคนต่างด้าวกักตัวครบตามกำหนดและตรวจไม่พบเชื้อโควิด - 19 หรือได้รับการรักษาหายแล้ว คนต่างด้าวดำเนินการตรวจโรค 6 โรค และนายจ้างผู้รับอนุญาตฯ จึงรับคนต่างด้าวไปยังสถานประกอบการ

7. คนต่างด้าวรับการอบรมผ่านระบบ Video Conference ณ สถานประกอบการ เมื่อผ่านการอบรมแล้ว คนต่างด้าวรับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่รับการอบรม โดยการอนุญาตให้ทำงานจะเริ่มจากวันที่คนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

ในส่วนนายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุม ในวันนี้มีประโยชน์มาก เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยเร็ว ซึ่งผมคิดว่าสถานประกอบการเองก็ยินดีจะจ่าย เรื่องวัคซีนรัฐบาลก็เป็นผู้รับผิดชอบหน้าที่และดูแลประชาชน

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรียังชื่นชมความสำเร็จและผลงานสำคัญของ กพต. ที่ทำเพื่อประโยชน์และความสุขให้แก่ประชาชน เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของภาคเอกชนต่อการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งการแก้ไขปัญหากฎระเบียบทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ไม่ทันสมัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีงานพัฒนาที่จำเป็นซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาต่อไป เช่น การประสานและบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมสร้างสันติสุขอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ประชาชนทุกเชื้อชาติ ศาสนา ชาติพันธุ์ รู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไปพร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการแผนงาน/โครงการ แผนคน และแผนงบประมาณ ให้ประสานสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้การขับเคลื่อนการทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ต้องดำเนินการพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่การทำนิคมอุตสาหกรรมเพื่อสร้างงานและอาชีพให้กับคนในพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยอุตสาหกรรมต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเพื่อลดโลกร้อนตามนโยบายของรัฐบาลและนานชาติในขณะนี้

นายกรัฐมตรียังให้ข้อเสนอแนะโดยย้ำทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางการบริหารจัดการระบบการอำนวยความสะดวกการค้า การลงทุนและการบริการในพื้นที่ ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยให้ ศอ.บต. เป็นศูนย์กลางการประสานงานและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน รวมทั้งให้ กพต. ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการตามนโยบายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทั้ง 4 เมือง ให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็วและเชื่อมโยงไปยังเกษตรฐานรากของประชาชนให้ได้มากที่สุดโดยโครงการการยกระดับการพัฒนาพื้นที่ผ่านจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น “เมืองปศุสัตว์”, “เมืองปูทะเลโลก”, “เมืองแห่งผลไม้” “เมืองแห่งพืชพลังงาน” และ “ระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้” ให้สำเร็จได้ในปี 2565 นี้ และให้ ศอ.บต. ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณ บูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของประชาชนและของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนมีความกินดี อยู่ดี อีกทั้งการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องดำเนินการให้ดีที่สุด รวมไปถึงการส่งเสริมการจัดกีฬาระดับโลก การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากโลกอาหรับและผู้นับถือศาสนาอิสลามจากประเทศต่าง ๆ เพื่อเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ให้มากขึ้น

นายกรัฐมนตรียังย้ำการจัดสรรทรัพยากรที่ดินทำกินให้กับประชาชน ต้องบูรณาการงานทั้งการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ให้คนอยู่ร่วมกับป่า ผ่านกลไก คทช. โดย กพต. ต้องเข้าไปเร่งรัดติดตามการทำงานในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งพื้นที่สาธารณะ” ให้เกิดขึ้นครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว เพื่อจะได้เป็นต้นแบบการทำงานให้กับทุกส่วนราชการเพื่อนำทรัพยากรของรัฐไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอย่างสูงสุด และช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมตลอดจนการบูรณาการขับเคลื่อนขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้แนวคิด “1 ข้าราชการ รับผิดชอบ 1 ครัวเรือนยากจน” โดยกำชับข้าราชการทุกคนต้องทำงานเพื่อประชาชนให้ได้ และให้จังหวัดได้ร่วมกันนำแนวคิดนี้ไปขยายผลสู่การปฏิบัติโดยเร็ว หากติดขัดปัญหาใด ให้เสนอผ่าน กพต. และ ครม. ตามลำดับ

นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นถึงความสำเร็จในแก้ไขปัญหาทั้ง 5 มิติ ทั้งความยากจน การศึกษา สาธารณสุข ที่อยู่อาศัยและการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยเน้นทำให้ครบทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน จะทำให้ได้ใจ จัดระบบสวัสดิการตามสิทธิทางกฎหมายให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยเร็ว ระยะที่ 2 ได้ภาคีพวกพ้อง สามารถบูรณาการทำงานทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง เกิดระบบการส่งต่อซึ่งกันและกันอย่างเป็นเอกภาพ และระยะที่ 3 ได้นโยบายและหลักการทำงานเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะการจัดทำข้อเสนอเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้กิดการผลักดันนโยบายจากส่วนกลางที่ไม่เหมาะสมไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาตรงจุด ตรงตามความต้องการ และความจำเป็นของประชาชน ให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติสุข ยืนยันรัฐบาลให้ความสำคัญการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงและงานด้านการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ดียิ่งขึ้นต่อเนื่องและอัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะต้องสูงขึ้นในทุกด้าน ตลอดจนการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเชิงพื้นที่ต้องให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของพี่น้องประชาชน และเชื่อมโยงการพัฒนาทุกห่วงโซ่คุณค่าให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น